วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ร่างระเบียบร้านสหกรณ์ว่าด้วยการดำเนินงานของร้าน


ระเบียบร้านสหกรณ์ …………………………………………………. จำกัด

ว่าด้วยการดำเนินงานของร้านสหกรณ์

.. …………………………..
--------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อ …..… และข้อ ……. ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ   ครั้งที่ …..……. / …………… วันที่ …………………….……………... ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการดำเนินงานของร้านสหกรณ์     ดังต่อไปนี้
ข้อ 1.  ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบร้านสหกรณ์ …………………………………. จำกัดว่าด้วยการดำเนินงานของร้านสหกรณ์ พ.. ……………..”

ข้อ 2.  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ …………………………….. .. …………….. เป็นต้นไป

หมวด 1
ทั่วไป
ข้อ 3.  ให้ร้านสหกรณ์เปิดทำการค้าทุกวัน เว้น ……………………………….…… และวันหยุดประจำปี        ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการจะได้ประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ โดยให้เริ่มเปิดทำการค้าตั้งแต่เวลา ………………… . ถึง ………………. .
ข้อ 4. ให้จัดการแบ่งการค้าของร้านออกเป็นสัดส่วนหรือแผนกตามความเหมาะสมในสัดส่วนหรือแผนกหนึ่ง ให้จัดสินค้าไว้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการใช้สอยของสินค้าให้ผู้จัดการ หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการกำหนดตัวพนักงานประจำทุกสัดส่วนหรือแผนก และให้เป็นผู้รับผิดชอบการขายสินค้า ดูแลรักษาความสะอาดและความเรียบร้อยตลอดทั้งความปลอดภัยของสินค้าด้วย
หมวด 2
การซื้อสินค้า
ข้อ 5. ร้านสหกรณ์นี้เป็นร้านค้าปลีก ไม่มีนโยบายในการกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไร ฉะนั้น ในการสั่งซื้อสินค้าให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการสั่งซื้อสินค้าตามประเภท ชนิดและคุณภาพที่สมาชิกต้องการตามปริมาณที่คาดว่าจะจำหน่ายได้หมดในระยะเวลาหนึ่งเดือน เมื่อผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการเห็นสมควรซื้อสินค้าประเภทใดเป็นจำนวนมากเป็นพิเศษ เพื่อสำรองไว้ขายตามฤดูกาล ก็ให้ขออนุมัติคณะกรรมการหรือกรรมการผู้ได้รับมอบหมายเป็นคราว ไป    สินค้าที่ค้างสต๊อกและจะล้าสมัยให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการลดราคาขายซึ่งไม่ต่ำกว่าทุนได้ แต่ถ้าจะทำการลดราคาต่ำกว่าทุนต้องเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการก่อน (การลดราคาขายต้องทำทะเบียนลดราคาไว้ให้ครบถ้วน)
ข้อ 6. การสั่งซื้อสินค้าเข้าร้าน ให้พิจารณาสั่งซื้อจากชุมนุมสหกรณ์ก่อน เพื่อเป็นการร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์และเพื่อสนับสนุนให้การจัดสหกรณ์ขั้นสูงประสบความสำเร็จ สินค้าใดที่ไม่อาจติดต่อซื้อจากชุมนุมสหกรณ์หรือชุมนุมสหกรณ์ไม่มีขาย จึงให้พิจารณาสั่งซื้อจากแหล่งขายส้งที่เป็นบริษัทร้านค้าที่มีชื่อเสียงดี (โดยเปรียบเทียบราคาในตลาดท้องถิ่นเป็นหลัก)
ข้อ 7. การซื้อสินค้าให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการ และควรพิจารณาสั่งซื้อร่วมกับพนักงานขายหน้าร้านตามประเภทและปริมาณดังกล่าวแล้ว ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการอาจมอบหมายให้ผู้อื่นสั่งซื้อสินค้าแทนตนเป็นครั้งคราวได้ และให้ถือว่าอยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการ
ข้อ 8. สินค้าทุกชนิดที่นำมาจำหน่ายไม่ว่าจะซื้อด้วยเงินสดหรือเงินเชื่อหรือรับฝากขายก่อนนำเข้าคลังสินค้าให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าคลังสินค้าหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ตรวจประเภทของสินค้าคุณภาพและจำนวนให้ตรงตามใบสั่งหรือใบส่งของ การตรวจนี้ถ้าเป็นหีบห่อให้แกะตรวจนับจำนวนให้ถูกต้อง สินค้าใดชำรุดเสียหาย ให้หมายเหตุไว้ให้ชัดเจน แล้วส่งคืนทันทีเมื่อตรวจนับเห็นว่าถูกต้องแล้ว ให้คลังสินค้าประทับตรารับของไว้ในใบส่งของ (ใบกำกับสินค้า) พร้อมทั้ง    ลงลายมือชื่อ วันเดือนปี ไว้เป็นหลักฐาน แล้วดำเนินการลงทะเบียนสินค้าให้เรียบร้อยแล้วคำนวณหาราคาทุนหน่วยละ กำหนดราคาขายหน่วยละ และคำนวณราคาขายของสินค้าแต่ละรายการทั้งหมดด้วย
ในการรับสินค้าเข้าคลังสินค้านี้ หัวหน้าคลังสินค้าจะมอบหมายให้ผู้อื่นเป็นผู้ตรวจสินค้าแทนตนก็ได้ ทั้งนี้ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้าคลังสินค้าเสมือนหนึ่งได้ตรวจรับด้วยตนเอง
สินค้าที่รับเข้าคลังสินค้าให้จดแจ้งวันที่รับสินค้าไว้ที่หีบห่อสินค้า เพื่อจะได้ทราบอายุของสินค้าว่า สต๊อกมานานเพียงใด อีกทั้งให้เขียนราคาขายและราคาทุน (วันรับสินค้าและราคาทุนควรจดแจ้งเป็นรหัส) ไว้ที่สินค้าด้วย สินค้าใดที่แตกชำรุด บุบสลาย หรือเสื่อมเพราะเกิดจากการกระทำของพนักงานคลังสินค้าหรือเกิดจากการละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ หัวหน้าคลังสินค้าจะต้องรับผิดชอบ
หมวด 3
การขายสินค้า
ข้อ 9. สหกรณ์จะขายสินค้าให้แก่สมาชิกและผู้มิใช่สมาชิกด้วยเงินสด แต่ในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษอาจมีการขายเชื่อได้ตามระเบียบซึ่งคณะกรรมการดำเนินการกำหนด
หน่วยราชการหรือองค์การของรัฐหรือท้องถิ่น ที่ประสงค์จะซื้อสินค้าจากร้านสหกรณ์โดยมีกำหนดชำระเงินภายใน 30 วัน ให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการดำเนินการซื้อสินค้าจากร้านสหกรณ์โดยมีกำหนดชำระเงินภายใน 30 วัน ให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการดำเนินการขายเชื่อได้ และให้ติดตามเรียกเก็บเงินอย่าให้ข้ามปีงบประมาณ
หมวด 4
การทำรายงานกิจการประจำเดือนและเบ็ดเตล็ด
ข้อ 10. ให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทำรายงานกิจการประจำเดือนเสนอที่ประชุม คณะกรรมการดำเนินการในเดือนถัดไป และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ภายในวันที่ 20 ชองทุกเดือน พร้อมทั้งส่งสำเนาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
ข้อ 11. ให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการเป็นธุระกวดขันการปฏิบัติงานของพนักงานทุกฝ่าย ให้ปฏิบัติงานประสานกัน และให้รักษาความสะอาดของสินค้าและร้านค้ามิให้รกรุงรังและเกะกะนอกที่เก็บสินค้า
ข้อ 12. ให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการเสนอรายงานความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสินค้าหน้าร้านที่อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานขาย โดยเพ่งเล็งถึงการเก็บรักษา การทำสินค้าหาย ขาดการสนใจ ดูแลจนเป็นเหตุให้สินค้าเสื่อมชำรุด ทั้งนี้ ให้รายงานเป็นประจำทุกเดือนพร้อมรายงานกิจการประจำเดือนด้วย
ข้อ 13. ให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบการดำเนินงานของร้านสหกรร์ ควบคุมการซื้อสินค้า ขายสินค้า และการกำหนดราคาสินค้าตามราคาตลาด และจัดให้มีสมุดบัญชีและทะเบียนต่าง ที่จำเป็นไว้ให้เรียบร้อย ปกครองบังคับบัญชาบรรดาพนักงานในร้านสหกรณ์ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับ และระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้
ข้อ 14. ให้ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานในร้านสหกรณ์ให้ปฏิบัติงามตามที่มอบหมาย และให้มีอำนาจออกจ้อกำหนดต่าง ภายในร้านให้พนักงานได้ถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของร้านสหกรณ์
ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการออกให้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการทราบทุกครั้ง
ข้อ 15. หน้าที่ของพนักงานอื่น ตามระเบียบนี้หากร้านสหกรณ์ไม่มีพนักงานตำแหน่งนั้น ให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการ



ประกาศ วันที่ ………………………………………. .. ………………..

…………………………………………..
( …………………………………….. )
ประธานกรรมการ
สหกรณ์ ………………………………………… จำกัด

ระเบียบสหกรณ์ว่าด้วยการฝากเงินออมทรัพย์


                        ระเบียบสหกรณ์ …………………………………………………..จำกัด
ว่าด้วยการรับเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ
 .. ……………



 

            อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์  ข้อ ……..และข้อ  …….  ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ  ครั้งที่……………/…………….. เมื่อวันที่ ……………………………………………………….
ได้กำหนดระเบียบว่าการรับฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ  โดยความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ ดังต่อไปนี้

หมวดที่  1

ข้อกำหนดทั่วไป
            ข้อ 1.  ระเบียบนี้เรียกว่า  ระเบียบสหกรณ์ ……………………………………..…………….จำกัด  ว่าด้วยการรับเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ  พ.. ………………”
            ข้อ 2.  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่  ……………………………………………………………เป็นต้นไป
            ข้อ 3.  สหกรณ์รับเงินฝากจากสมาชิกได้  ประเภท คือ
(1)   เงินฝากออมทรัพย์
(2)   เงินฝากประจำ
หมวดที่  2
การเปิดบัญชีและการฝากเงิน
            ข้อ 4.  ผู้ประสงค์จะเปิดบัญชีเงินฝาก  ตามข้อ ให้มาติดต่อกับเจ้าหน้าที่สหกรณ์  ณ  สำนักงาน สหกรณ์ด้วยตนเอง  และต้องยื่นหนังสือขอเปิดบัญชีนั้น
            ในกรณีที่สหกรณ์มีโครงการระดมเงินฝากเป็นกรณีพิเศษและประสงค์จะออกรับเงินฝากนอก
สำนักงานของสหกรณ์  ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการ  พร้อมทั้งกำหนดมาตรการ
เพื่อความปลอดภัยด้วย
            ข้อ 5.  ร้อมกับหนังสือขอเปิดบัญชีเงินฝาก  ผู้ฝากต้องให้ตัวอย่างลายมือชื่อของตนหรือของตัวแทนซึ่งเป็นผู้มีอำนาจถอนเงิน  ตลอดจนให้คำสั่งเกี่ยวกับเงินฝากที่เปิดบัญชีนั้นไว้ต่อสหกรณ์
            การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตัวอย่างลายมือชื่อที่ให้ไว้  จะมีผลต่อเมื่อผู้ฝากได้แจ้งเป็นหนังสือ
ต่อสหกรณ์  และสหกรณ์ได้พิจารณาเห็นเป็นการถูกต้องและตอบรับแล้ว
            ลายมือชื่อทุกกรณีเกี่ยวกับเงินฝากให้ใช้อักษรไทยและเขียนด้วยหมึกทั้งต้องเขียนด้วยลายมือ
ตนเอง  สหกรณ์จะไม่รับรู้การใช้ตราประทับแทนลายมือชื่อ
            ข้อ 6.  ผู้ฝากคนหนึ่งสามารถเปิดบัญชีเงินฝากได้ดังนี้
(1)               เงินฝากออมทรัพย์  ผู้ฝากรายหนึ่งอาจเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในสหกรณ์นี้ได้โดยจำนวนเงินฝากในบัญชีนั้นในเวลาหนึ่งเวลาใดต้องไม่น้อยกว่า  ………………… บาท  และผู้ฝากจะส่งเงินฝากเพิ่มขึ้นเมื่อใดโดยจำนวนเท่าใดก็ได้
(2)               เงินฝากประจำรายหนึ่ง ๆ  ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า …………….. บาท 
และระยะเวลาฝากต้องไม่น้อยกว่า ………………  เดือน
ข้อ 7.  ในการเปิดบัญชีเงินฝากตามข้อ 6 สหกรณ์จะออกสมุดคู่ฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้
สมุดคู่ฝากนั้นผู้ฝากต้องรักษาไว้  เพื่อให้สหกรณ์ลงบันทึกรายการเงินฝาก  ดอกเบี้ย 
เงินถอน  และ เงินคงเหลือของตนบรรดาที่จะมีขึ้นทุกราย
การลงบันทึกรายการต่าง ๆ ในสมุดคู่ฝากนั้น จะกระทำได้แต่โดยทางฝ่ายสหกรณ์  ซึ่งประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการ  หรือเหรัญญิก  หรือผู้จัดการ  หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายคนหนึ่งคนใดเป็นผู้ลงลายมือชื่อย่อกำกับไว้เป็นสำคัญ  การลงบันทึกรายการในสมุดคู่ฝากโดยไม่เป็นไปตามที่กล่าวนี้ย่อมไม่มีผลผูกพันสหกรณ์ 
อนึ่ง  ถ้าผู้ฝากตรวจพบว่ารายการใดในสมุดคู่ฝากคลาดเคลื่อน  ต้องแจ้งต่อสหกรณ์เพื่อแก้ไข 
จะแก้ไขโดยประการอื่นไม่ได้
สมุดคู่ฝากเล่มที่ใช้เต็มแล้วหรือชำรุดจนใช้การไม่ได้  นำมายื่นต่อสหกรณ์เพื่อจะได้ยกเลิกสมุด
คู่ฝากเล่มนั้น  และโอนยอดเงินคงเหลือเข้าสมุดคู่ฝากใหม่  ซึ่งออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ต่อไป  สมุดคู่ฝากเล่มที่ยกเลิกนั้น ผู้ฝากจะรับไปก็ได้
ผู้ฝากต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากของตนไว้ในที่ปลอดภัย  ถ้าสมุดคู่ฝากหายผู้ฝากต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อสหกรณ์โดยมิชักช้า  สหกรณ์จะนำยอดเงินคงเหลือเข้าสมุดคู่ฝากเล่มใหม่ออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้
ต่อไปส่วนสมุดคู่ฝากเล่มที่หายให้ยกเลิก
            ในกรณีที่สหกรณ์ออกสมุดให้แก่ผู้ฝากครั้งแรกก็ดี  หรือออกเล่มใหม่ให้ต่อจากเล่มก่อน 
ซึ่งลงรายการเต็มแล้วก็ดี  หรือชำรุดใช้การไม่ได้ก็ดี  สหกรณ์จะไม่คิดค่าธรรมเนียมแต่กรณีที่สมุดคู่ฝาก
ของผู้ฝากคนใดสูญหาย  สหกรณ์จะออกสมุดคู่ฝากใหม่ให้โดยคิดค่าธรรมเนียมเล่มละ ……..บาท
ข้อ 8.  ในการส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากทุกครั้ง  ให้ทำใบส่งเงินตามแบบพิมพ์ที่สหกรณ์กำหนด 
ยื่นพร้อมด้วยสมุดคู่ฝากและจำนวนเงินฝากต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์  ณ  สำนักงานสหกรณ์ทั้งนี้  ผู้ฝาก
หรือผู้อื่นจะเป็นผู้ส่งเงินก็ได้
เมื่อสหกรณ์ได้ลงบันทึกรายการจำนวนเงินฝากที่ได้รับนั้นในสมุดคู่ฝาก  และตรวจสอบเป็นการ
ถูกต้องแล้ว  สหกรณ์จะคืนสมุดคู่ฝากให้ผู้ฝาก

            ข้อ 9.  ถ้าส่งเช็คเข้าบัญชีเงินฝาก  ต้องขีดคร่อมเช็คก่อน  สหกรณ์สงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะไม่จ่าย
เงินถอนจากรายการเช่นนั้นจนกว่าจะเรียกเก็บเงินตามเช็ดได้แล้ว
หมวด  3
การกำหนดอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการคิดดอกเบี้ย วิธีการคิดดอกเบี้ย
และการจ่ายดอกเบี้ย
            ข้อ 10.  สหกรณ์จะให้ดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทตามข้อ 3 ในอัตราไม่เกินร้อยละ  ต่อปี  โดยจะได้ประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป
            (*)  ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ให้คำนวณเป็นรายวันตามยอดเงินคงเหลือและสหกรณ์จะนำดอกเบี้ยทบเป็นต้นเงินเข้าบัญชีเงินฝากในวันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์  ให้ผู้ฝากรีบยื่นสมุดคู่ฝาก 
ณ  สำนักงานสหกรณ์ เพื่อสหกรณ์บันทึกรายการดอกเบี้ยให้
            ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ  สหกรณ์จะคำนวณและจ่ายดอกเบี้ยให้เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาการฝาก  สำหรับเงินฝากที่ถอนก่อนกำหนดโดยได้รับอนุญาตจากสหกรณ์ตามข้อ 12 สหกรณ์จะจ่ายดอกเบี้ยให้
ตามจำนวนเดือนเต็ม
            กรณีถอนเงินฝากประจำในระยะเวลาไม่ถึง 3 เดือน สหกรณ์จะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้
            ถ้าผู้ฝากไม่ถอนเงินฝากประจำเมื่อครบกำหนดพร้อมดอกเบี้ย  จนพ้นกำหนดไปอีกเจ็ดวันก็เป็นอันถือว่าผู้ฝากตกลงฝากต้นเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยต่อไปอีกเท่าระยะเวลาเดิม
หมวด  4
การถอนเงินฝากและการปิดบัญชี
            ข้อ 11.  การถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก ต้องใช้ใบถอนเงินตามแบบของสหกรณ์
            ในการถอนเงินฝาก ผู้มีอำนาจถอนเงินตามที่ได้ให้ตัวอย่างลายมือชื่อไว้ต่อสหกรณ์  ควรมารับเงินที่สำนักงานสหกรณ์ด้วยตนเอง  และต้องยื่นใบถอนเงินฝากโดยลงลายมือชื่อตามที่ให้ตัวอย่างไว้นั้น
พร้อมกับสมุดคู่ฝากต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์
            ถ้าผู้มีอำนาจถอนเงินฝากจะมอบให้ผู้ใดถอนเงินแทน  ก็ต้องทำใบถอนเงินฝากและต้อง
มอบอำนาจให้รับเงินแทนเป็นหนังสือได้ด้านหลังของใบถอนเงินฝากนั้นด้วย  ทั้งนี้  โดยลงลายมือชื่อตามที่ได้ให้ตัวอย่างไว้แล้วมอบให้ผู้รับมอบอำนาจยื่นใบถอนเงินฝากนั้น  พร้อมด้วยสมุดคู่ฝากต่อเจ้าหน้าที่ของ
สหกรณ์  ณ  สำนักงานสหกรณ์  ในการนี้สหกรณ์จะเรียกหลักฐานพิสูจน์ตัวผู้รับมอบอำนาจก็ได้
            มื่อสหกรณ์ได้ตรวจถูกต้องแล้วจะจ่ายเงินถอนให้  และลงรายการเงินถอนพร้อมทั้งเงินคงเหลือในสมุดคู่ฝากและคืนสมุดคู่ฝากให้ผู้ฝาก
            อนึ่ง การเขียนใบถอนเงินฝากให้เขียนด้วยหมึก  ถ้ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ   ผู้มีอำนาจถอนเงินต้องลงลายมือชื่อตามที่ให้ตัวอย่างไว้กำกับด้วย
            ข้อ 12.  การถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นจะถอนเมื่อใด จำนวนเท่าใดก็ได้
            ส่วนการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำนั้น  ผู้ฝากย่อมไม่มีสิทธิถอนเงินก่อนครบกำหนด แต่เมื่อผู้ฝากยื่นคำขอเป็นหนังสือโดยชี้แจงความจำเป็น สหกรณ์จะยอมให้ถอนเงินฝากก่อนครบกำหนดก็ได้
            ข้อ 13.  ผู้ฝากจะถอนเงินฝากคงเหลือทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีเงินฝากของตนเมื่อใดก็ได้  ให้ผู้มีอำนาจถอนเงินจดแจ้งไว้ท้ายรายการจำนวนเงินในใบถอนเงินฝากด้วยว่า เพื่อปิดบัญชี
            ข้อ 14.  ในกรณีที่ผู้ฝากตาย  สหกรณ์จะจ่ายคืนเงินคงเหลือทั้งหมดในบัญชีเงินฝากให้แก่ผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้ หรือถ้ามิได้ตั้งไว้ก็คืนให้แก่บุคคลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจคณะกรรมการดำเนินการว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวนั้น
            ข้อ 15.  ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์เห็นว่าผู้ฝากฝ่าฝืนระเบียบนี้  หรือก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่สหกรณ์  หรือเห็นว่ามีเหตุอันสมควรที่จะปิดบัญชีเงินฝากของผู้ฝาก  สหกรณ์จะไม่รับเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ฝากอีก  และให้ผู้ฝากถอนเงินคงเหลือทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีเงินฝากของตน ทั้งนี้ สหกรณ์จะแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ฝาก
            ข้อ 16.  การถอนเงินฝากเพื่อปิดบัญชีตามข้อ  13 และ 14  สหกรณ์จะคำนวณดอกเบี้ยให้ตาม
ข้อ 10 ถึงวันก่อนวันถอนหนึ่งวัน เว้นแต่การปิดบัญชีเงินฝากในกรณีผู้ฝากฝ่าฝืนระเบียบตามข้อ 15  สหกรณ์จะคำนวณดอกเบี้ยให้ถึงก่อนวันที่แจ้งหนึ่งวันและสหกรณ์จะไม่ให้ดอกเบี้ยอีกไม่ว่าผู้ฝาก
จะถอนเงินเมื่อใด
                        เมื่อสหกรณ์ได้จ่ายเงินคืนผู้ฝากแล้ว  จะยกเลิกสมุดคู่ฝากสำหรับบัญชีนั้น

                                    ประกาศ  ณ  วันที่………………………...………………
           (………………………………………………)
                               ประธานกรรมการ
  สหกรณ์…………………………………………….จำกัด

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โปรแกรมสหกรณ์ร้านค้าเวอร์ชั่น 2.01 ใหม่ล่าสุดออกใช้แล้วได้ผล


โปรแกรมระบบบัญชี สหกรณ์ครบวงจร
วันพฤหัสบดี ที่ 04 สิงหาคม 2554 เวลา 0:00
นาย สิงห์ทอง ชินวรรังสี อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้เร่งรณรงค์ให้สหกรณ์ร้านค้าใช้โปรแกรมระบบบัญชี สหกรณ์ครบวงจร ที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์พัฒนาขึ้น โดยเฉพาะระบบสินค้าที่ทันสมัย รองรับการให้บริการลูกค้าที่สะดวก รวดเร็ว และเอื้อประโยชน์ต่อการปิดบัญชีของสหกรณ์ด้วย
   
สำหรับระบบสินค้าเวอร์ชั่นล่าสุดที่พัฒนาขึ้นได้เน้นระบบคุณลักษณะเด่นของ ร้านค้า ที่มีการขายหลายจุด มีการเปิดช่องบริการพิเศษไว้บริการลูกค้าเหมือนกับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่  รวมทั้งมีระบบบาร์โค้ดเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และสามารถควบคุมสต๊อกสินค้าได้วันต่อวัน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ที่ทันสมัยให้กับสหกรณ์ร้านค้าเทียบเท่า กับร้านสะดวกซื้อ และเพิ่มมูลค่าสินค้าของสหกรณ์อีกด้วย
   
ทั้งนี้ ระบบสินค้า เวอร์ชั่น 2.1 ที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์พัฒนาขึ้น ได้นำไปนำร่องกับสหกรณ์ที่บริหารงานในลักษณะร้านค้าของสหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์ร้านค้า รวม 13 แห่ง
   
ที่ผ่านมากรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้นำโปรแกรมระบบสินค้าติดตั้งให้สหกรณ์ภาค เกษตรใช้ในการบริหารงาน ซึ่งผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ สหกรณ์ภาคเกษตรสามารถปิดบัญชีได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ขณะเดียวกัน หากสหกรณ์ร้านค้าทั่วประเทศตัดสินใจนำโปรแกรมดังกล่าวไปช่วยในการบริหาร จัดการด้านการเงินการบัญชีแล้ว เชื่อว่าจะสามารถนำพาสหกรณ์ร้านค้าให้ก้าวหน้า มั่นคง เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์แก่มวลสมาชิกได้อย่างยั่งยืนนายสิงห์ทอง กล่าว.

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้กับสมุนไพรใกล้ตัว ผงกล้วยดิบ

                    ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum L.
วงศ์ Musaceae
ชื่อพ้อง M. paradisiaca L. var sapientum (L.) O. Kuntze
ชื่ออื่นๆ กล้วยไข่ กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยน้ำว้า กล้วยมณีออง กล้วยเล็บมือ กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยหอมจันทร์ กล้วยหักมุก เจก มะลิอ่อง ยะไข่ สะกุย แหลก Banana, Cultivated banana
สารออกฤทธิ์ leucocyanidin (1), sitoindoside I, sitoindoside II, sitoindoside III, sitoindoside IV, sitoindoside V (2-5)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร
การศึกษาฤทธิ์เกี่ยวกับการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเป็นการศึกษาของกล้วย M. paradisiaca ซึ่งเป็นกล้วยป่า พบว่า สารสกัดผลซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็ง ป้อนทางสายยางสู่กระเพาะอาหารหนูขาวเพศเมีย ขนาด 0.5 ./กก.นน.ตัว พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดน้ำและน้ำด่าง (alkali-water) จากผล ฉีดเข้าช่องท้องหนูขาวเพศผู้ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย aspirin ขนาดที่ใช้ คือ 5 ./วัน พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้สารสกัดเอทานอลกับน้ำ (1:1) จากผลแห้ง ขนาด 22.5 มก./กก. เมื่อให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารและฉีดเข้าช่องท้องของหนู ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะด้วย aspirin พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (6) ส่วนสกัดที่แยกได้จากโครมาโตกราฟฟีของสารสกัดผล ขนาด 30 มก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนู พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร อีกการทดลองหนึ่งระบุว่า เมื่อป้อนสารสกัดเมทานอลจากผล ไม่ระบุขนาดที่ให้ ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนู สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (7) และสารสกัดเนื้อผลซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็ง ขนาด 0.5 ./กก. ฉีดเข้าทางกระเพาะของหนูเพศเมียซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะด้วย indomethacin และ acetic acid พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (8)
เนื้อผล ขนาด 0.65 ./ตัว ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะหนูเพศผู้ โดยทดสอบก่อนและหลังที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (6) และเนื้อผล ขนาด 0.65 ./ตัว ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะหนูเพศผู้ โดยเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย indomethacin พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (9)
แป้งจากส่วนผลให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนู ขนาด 0.5 ./กก. พบว่าทำให้ความต้านทานของผนังกระเพาะเพิ่มมากขึ้น และแป้งจากส่วนผล ขนาด 100 มก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนูเพศผู้ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย hypothermic-restraint, indomethacin และ ethanol พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (10) นอกจากนี้แป้งจากผลขนาด 0.5 ./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนูตะเภา ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย histamine พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (11) อีกการทดลองหนึ่งพบว่า แป้งจากผล ขนาด 0.5 ./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนู ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย aspirin, phenylbutazone, cysteamin, และ shay พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (11, 12) สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนู คือ sitoindoside I, II, III, IV และ V (2, 3) ซึ่งสาร sitoindoside IV เป็นสารที่ออกฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารดีที่สุด (3-5) นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยพบว่า สาร leucocyanidins ซึ่งเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารออกฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนูขาวที่ถูกทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารด้วยแอสไพริน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วง
              1. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้เล็กน้อย สารสกัดจากลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ และแบคทีเรียที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะกรดได้ สารสกัดจากผลและเปลือกผลสุกสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Escherichia coli, Staphylococcus, Serratia marcescens, Mycobacterium phlei, Bacillus subtilis, Sarcina lutea, Rhodococcus roseus และ Xanthomonas translucens (2) 
2. ฤทธิ์รักษาอาการอุจจาระร่วง 
 อาสาสมัครจำนวน 31 คน รับประทานเนื้อผล ขนาด 40 กรัมต่อคน สามารถลดอาการท้องร่วงที่เกิดจากเชื้อ Clostridium difficile ได้ (3)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับรักษาโรคเชื้อราในปาก
ฤทธิ์ต้านเชื้อรา
สารสกัดน้ำ เมทิลินคลอไรด์ และปิโตรเลียมอีเทอร์จากราก ทดสอบในจานเพาะเชื้อ พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans ส่วนสารสกัดเมทานอลไม่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว (1) สารสกัด 70% เอทานอลจากลำต้น ขนาด 150 มก./มล ทดสอบในจานเพาะเชื้อ ไม่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ C. albicans (2)
หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอลและน้ำ (1:1) จากเปลือกผลแห้ง เข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 1 ./กก. (4)
เมื่อป้อนน้ำคั้นจากลำต้น ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารในหนู ขนาด 2 ซีซี/ตัว มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ และภายใน 1-7 วัน ระดับแคลเซียม ฟอสฟอรัส ออกซาเลท และกรด glycolic ในเลือดลดลง (5)