วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพร : ปัญจขันธ์



สมุนไพร : ปัญจขันธ์


ปัญจขันธ์

ปัญจขันธ์ หรือชื่อจีนว่า เจียวกู่หลาน เซียนเฉ่า (สมุนไพรอมตะ) หรือชื่อที่ญี่ปุ่นว่า อะมาซาซูรู ส่วนชื่อภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น Miracle (หญ้ามหัศจรรย์) Southern Ginseng(โสมภาคใต้) 5-Leaf Ginseng (โสมห้าใบ) เป็นต้น

สมุนไพรชนิดนี้มีประโยชน์ทั้งเป็นยาและเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ มีประวัติการใช้มายาวนาน มีสารที่สำคัญชื่อ gypenosides เป็นสารประเภทไตรเทอร์ปีนซาโปนิน (triterpene saponins) ซึ่งมีสูตรที่คล้ายคลึงกับ ginsenosides ที่พบในโสม

ซาโปนินที่พบในปัญจขันธ์มีจำนวน 82 ชนิด แต่ซาโปนินที่พบในโสมมี 28 ชนิด ในจำนวนนี้มี 4 ชนิด ที่เหมือนกัน นอกจากนั้นยังมี gypenosides อีก 11 ชนิด ซึ่งมีสูตรโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับ ginsenosides การศึกษาวิจัยปัญจขันธ์

ข้าวมูลการวิจัยของนักวิจัยชาวจีนและญี่ปุ่น พบว่า ปัญจขันธ์มีสาระสำคัญอยู่หลายชนิด โดยทั่วไปคือ gypenosides เป็นสารจำพวก saponins มีไม่น้อยกว่า 80 ชนิด ผลการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่า ปัญจขันธ์ มีสารที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้นอนหลับ เสริมภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด ต้านการอักเสบ และลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับไขมันในเลือด ลดคลอเรสเตอรอล เจียวกู่หลาน ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอลชนิด LDL กรดไขมันที่เสีย ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ จึงเท่ากับ ลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลให้กรดไขมัน ชนิด HDL กรดไขมันดี ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ดี และลดกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นเกิดจากการแปรสภาพของกรดไขมันเสีย

วิจัยเกี่ยวกับปัญจขันธ์
โดย ดร. จักรพงษ์ ลิมปนุสสรณ์
การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้สามารถสกัดและแยกสารเคมีบริสุทธิ์ที่มีสารที่สำคัญ จำแนกได้ดังนี้
  • ไกลโคไซด์ (glycoside)
    เป็นสารประกอบที่พบมากในพืชสมุนไพร มีโครงสร้างแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นน้ำตาลกับส่วนที่ไม่ได้เป็นน้ำตาล ที่เรียกว่า อะไกลโคน (aglycone) หรือ เจนิน (genin) ส่วนที่ไม่ใช่น้ำตาลมีโครงสร้างแตกต่างกันไปหลายประเภท ดังนั้นฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารประกอบในกลุ่มนี้จึงมีได้กว้างขวางแตกต่าง กันออกไป ส่วนที่เป็นน้ำตาลไม่มีฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยาแต่เป็นส่วนช่วยทำ ให้การละลายและการดูดซึมเข้าสู่ ร่างกายดีขึ้น ช่วย ระบบกล้ามเนื้อหัวใจ และระบบการ ไหลเวียนของโลหิต ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • กลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids Glycoside)
    สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ต่อต้านการจับตัวกันเป็นก้อนของ เกร็ดเลือด ป้องกันการเกิดภาวะอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
  • ไตรเทอร์ปีน แลคโตน (Triterpene Lactone)
    สารกลุ่มที่พบว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของโลหิตได้รวดเร็วขึ้น

โดย นพ.สมทรง รักษ์เผ่า
นพ.สมทรง รักษ์เผ่า อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดปัญจขันธ์หรือ เจียวกู่หลาน เป็นพืชล้มลุกชนิดเถา พบมากในประเทศญี่ปุ่น จีน พบว่า ตัวยาที่สกัดได้แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เอชไอวีโพรทีเอส ทำให้เชื้อไวรัสเอชไอวีไม่เพิ่มจำนวน มีฤทธิ์เสริมภูมิต้านทานในหลอดทดลอง เมื่อทดสอบกับสัตว์ทดลอง ไม่พบพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง นอกจากนั้น เมื่อทดสอบในอาสาสมัครให้รับประทานสารสกัดในแคปซูล พบว่า มีความปลอดภัย ทางสถาบันวิจัยสมุนไพรเตรียมขยายผลนำสมุนไพรมาพัฒนาเป็นยาทดแทนการใช้ยาแผน ปัจจุบัน ทั้งนี้ในญี่ปุ่นและจีนใช้ปัญจขันธ์เป็นยาต้านการอักเสบ แก้ปวด แก้ไอขับเสมหะ ลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเติบโตของเนื้องอก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด

โดยกรมวิชาการเกษตร
ในปี 2543 กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำการวิจัยพบสารต้านอนุมูลอิสระ ถึง 3 ชนิด คือ
1.  เควอซิติน ( Quercetin )
2.  เคมเฟอรอล ( Kaempferol ) เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยส์ ( Flavonoids ) มีคุณสมบัติ
ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง
ยับยั้งการก่อสารมะเร็งเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่
ลดอาการแพ้ ยืดอายุเม็ดเลือดขาว
3.  โพลีฟีนอล ( Polyphenols ) มีฤทธิ์ป้องกันอนุมูลอิสระ ลดความเครียด เนื่องมากจากความไม่สมดุลของร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอกเลือดหัวใจ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร

เอกสารอ้างอิง :
หนังสือสมุนไพรน่ารู้(2) ปัญจขันธ์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

สมุนไพร : พูลคาว


สมุนไพร : พูลคาว



พลูคาว

การใช้สมุนไพรพลูคาวเพื่อเป็นยารักษาโรค

พลูคาวเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศไทยทางภาคเหนือ ใช้สมุนไพรพลูคาวเพื่อลดไข้ ขจัดสารพิษ รักษาแผลในกระเพาะอาหารและรักษาอาการอักเสบ (Chang H, and But P. 1986 Pharmacology and application of Chinese Materia Medica, World Scientific, Singapore)

ในประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคเหนือใช้พลูคาวแก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แผลแห้ง แก้เข้าข้อ แก้โรคผิวหนัง แก้อาการบวมน้ำ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ บิด โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และแก้ริดสีดวงทวาร (สมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ 2510. ประมวลสรรพคุณยาไทยภาคสอง หน้า 314-315. นันทวัน บุญยะประภัสสร และอรนุช โชคชัยเจริญพร. 2542 สมุนไพรไม้พื้นบ้าน(3) บริษัท ประชาชน จำกัด กรุงเทพฯ หน้า 304)

คำแนะนำ
พลูคาวไม่ควรใช้มาเป็นยารักษาโรคไตหรือขับปัสสาวะเป็นอันขาด (ปั้นชีวิตใหม่ด้วยชีวจิต โดย ดร.สาทิส อินทรกำแหง)

มีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชของสมุนไพรพลูคาวในต่างประเทศหลายเรื่อง
  1. ฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง
    มีการรายงานว่าสารสำคัญของสมุนไพร พลูคาวมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง 5 ชนิดคือ เซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งรังไข่ เซลล์มะเร็งเนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย เซลล์มะเร็งสมอง และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยพบว่าการทำลายเซลล์มะเร็งดังกล่าวแต่ละชนิดเป็นไปอย่างมีนัยทางสถิติ (Kim SK, Ryu SY, No J, Choi Su and Kim YS. 2001. Cytotoxic alkaloids from Houttuynia cordata. Arch Pharm Res. 24(6) : 518-521.
     
  2. ฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
    มีการทดลองใช้สารสกัดด้วยน้ำของสมุนไพรพลูคาวยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาว พบว่า สารสกัดด้วยน้ำของสมุนไพรพลูคาวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เม็ดเลือดขาวได้

มีการจดสิทธิบัตรในประเทศจีน ซึ่งเป็นสิทธิบัตรยารักษามะเร็งที่มีสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนประกอบดังนี้คือ
  • สิทธิบัตรจีนเลขที่ CN1228310 เป็นสิทธิบัตรยารักษาโรคมะเร็งที่มีสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนประกอบ เพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งทางเดินหายใจ เนื้องอกในรังไข่ มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
     
  • สิทธิบัตรจีนเลขที่ CN1141799 เป็นสิทธิบัตรยาที่มีสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนประกอบ เพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร กำจัดความร้อนและสารพิษ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
     
  • สิทธิบัตรจีนเลขที่ CN1113789 เป็นสิทธิบัตรยาที่มีสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนประกอบเพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งและเพิ่มภูมิต้านทาน
     
  • สิทธิบัตรจีนเลขที่ CN1178110 เป็นสิทธิบัตรยาที่มีสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนประกอบเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งปอด
     
  • สิทธิบัตรจีนเลขที่ CN1099989 เป็นสิทธิบัตรยาที่มีสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนประกอบ ตำรับสำหรับทาภายนอก (ยาครีม) รักษามะเร็งเต้านม และเต้านมอักเสบ
     
  • สิทธิบัตรจีนเลขที่ CN1100951 เป็นสิทธิบัตรยาที่มีสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนประกอบ ใช้ทั้งรับประทานและเป็นยาฉีด ใช้รักษามะเร็งกระเพาะอาหาร
     
  • สิทธิบัตรจีนเลขที่ CN1098932 เป็นสิทธิบัตรยาที่มีสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนประกอบสำหรับรักษามะเร็งและรักษา อาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้รังสีรักษาและเคมีบำบัด
     
  • สิทธิบัตรจีนเลขที่ CN1105246 เป็นสิทธิบัตรยาที่มีสมุนไพรพลูคาวเป็นส่วนประกอบเป็นยาน้ำรักษาโรคมะเร็งลำ ไส้ใหญ่ส่วนปลาย มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งเต้านม



เอกสารอ้างอิง :
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง http://www.siamCA.com


สนใจโ ทรสอบถาม ปรึกษาที่  0899371691 0819541900

สมุนไพร ใบบัวบก



สมุนไพร : ใบบัวบก


น้ำใบบัวบก

ใบบัวบก เป็นสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์มากมาย มีใช้ทั้งในตำราอายุรเวท ในตำรายา ใบบัวบกมีสารสำคัญคือ Terpenoids และ Asiaticoside สามารถนำมารับประทานและรักษาแผลภายนอกได้

สรรพคุณทางวิชาการทางการแพทย์ที่น่าสนใจ
ใบบัวบกมีสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารต้านมะเร็ง และบำรุงสมอง

พบสารต้านมะเร็งในใบบัวบก

รศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ได้ร่วมกับเภสัชกรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่วิจัยบัวบกเพื่อหาสารต้านมะเร็งลำไส้ ใหญ่ พิสูจน์กลไกการออกฤทธิ์ โดยนำใบบัวบกมาตำคั้นเอาน้ำ สกัดสารสำคัญนำไปป้อนหนูที่ถูกกระตุ้นจนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่า เซลล์ที่ผิดปกติลดขนาดลง เมื่อนำสารสกัดจากใบบัวบกไปทำปฏิกิริยากับเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง พบว่า สารสำคัญดังกล่าวฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ตาย พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ พบว่า สารต้านมะเร็งในใบบัวบกมีมากกว่าตะไคร้ และสมุนไพรตัวหนึ่งที่น่าสนใจ คือ หญ้าปักกิ่งและทองพันชั่ง

รศ.ดร.อุษณีย์ กล่าวว่า บัวบกถือว่าเป็นพืชที่สุดยอด หลังจากค้นพบสารสำคัญที่ฆ่าเซลล์มะเร็งแล้ว ตอนนี้ได้เสนอโครงการวิจัยต่อยอดเพื่อหารูปแบบที่จะใช้ประโยชน์ศึกษาว่า กินอย่างไร ปริมาณเท่าไหร่ จึงจะได้ประโยชน์ นอกจากนั้น

รศ.ดร.อุษณีย์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นประชาชนสามารถนำใบบัวบกมารับประทานเพิ่มภูมิต้านทานโรค เพิ่มเม็ดเลือดขาวให้กับร่างกายได้ เช่น ทำน้ำใบบัวบก นำมาจิ้มน้ำพริก หรือประกอบอาหาร

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับตับ ควรระมัดระวังในการรับประทานใบบัวบก เพราะหากได้รับสารอัลฟ่าท็อกซิน จะทำให้ตับด้อยประสิทธิภาพในการทำลายสารอัลฟ่าท็อกซิน เกิดภาวะตับอักเสบ


เอกสารอ้างอิง :
http://www.manager.co.th/qol/viewNews.asp?newsid=4759613930582

สมุนไพร ขมิ้นชัน


สมุนไพร : ขมิ้นชัน


ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma loga Linn., Curcuma domestica Valeton.
ชื่อวงศ์ Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นแกง, ขมิ้นชัน, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว, ยากยอ, สะยอ, หมิ้น
ส่วนที่ใช้คือ เหง้าสดและแห้ง

ขมิ้นชันมีประโยชน์ และสรรพคุณ หลายประการดังนี้
  1. มีวิตามิน A, C, E เมื่อข้าสู่ร่างกายจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว มีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ
  2. สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร
  3. ช่วยย่อยอาหาร
  4. ทำความสะอาดให้ลำไส้
  5. เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ
  6. ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ
  7. สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง
  8. กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง
  9. ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี
กินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร ใช้ปรุงอาหารกิน ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็ดี ทำให้หอมน่ากินและยังได้ประโยชน์อีกด้วย เพราะตัวขมิ้นชันจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้บางส่วน

ถ้ากินขมิ้นชันสดๆ ต้องปอกเปลือกก่อน แต่ถ้าทำขมิ้นชันบดเป็นผงต้องนำขมิ้นชันมาต้มน้ำให้เดือดสักพักหนึ่ง แล้วตักออกนำมาผึ่งให้เย็นหั่นเป็นแว่นเล็กๆ ตากแดดจนแห้ง อาจจะตากหลายครั้ง แล้วถึงจะนำมาบดให้เป็นผง ถ้าใช้เครื่องอบให้ขมิ้นชันแห้ง ความร้อนควรไม่เกิน 65 องศา ถ้าความร้อนเกินอาจเกิดสารสเตรอยด์ได้

กินขมิ้นชันให้ตรงเวลาที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น จะได้ผลตรงประเด็นที่ต้องการจะบำรุง หรือแก้ไขฟื้นฟูของระบบของอวัยวะ กินเพียง 1 แคปซูลเท่านั้น จะออกฤทธิ์มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว แต่ถ้ามีปัญหาหลายอย่างก็กินครั้งละ 1 แคปซูล ทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้ากินในจำนวนมาก ส่วนที่เหลือจะไปขับไขมันในตับ
นาฬิกาชีวิต (ความสัมพันธ์ของอวัยวะกับเวลา)
 
ช่วงเวลา
เป็นเวลาของ
03.00 - 05.00 น.
ปอด
05.00 - 07.00 น.
ลำไส้ใหญ่
07.00 - 09.00 น.
กระเพาะอาหาร
09.00 - 11.00 น.
ม้าม
11.00 - 13.00 น.
หัวใจ
13.00 - 15.00 น.
ลำไส้เล็ก
15.00 - 17.00 น.
กระเพาะปัสสาวะ
17.00 - 19.00 น.
ไต
19.00 - 21.00 น.
เยื่อหุ้มหัวใจ
21.00 - 23.00 น.
พลังงานรวม
23.00 - 01.00 น.
ถุงน้ำดี
01.00 - 03.00 น.
ตับ


กินขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้จะได้ผลโดยตรงกับอวัยวะส่วนนั้น

( เวลา 03.00 - 05.00 น. ) ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

( เวลา 05.00 - 07.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันในเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของสำไส้ใหญ่ ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ไขปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป แต่ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้นชันพร้อมกับสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว หรือนำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆอยู่เป็นล้านๆเส้น ซึ่งขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาดได้ ก็จะไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวาร ไม่เป็นมะเร็งลำไส้

( เวลา07.00 - 09.000 น. ) ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม

( เวลา 09.00 - 11.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลในปาก อ้วนเกินไปผอมเกินไปที่เกี่ยวข้องกับม้าม ลดอาการเป็นเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน

( เวลา 11.00 -13.00 น. ) ใครมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือไม่มี ก็กินขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถ้าเลย 11.00 น. ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับแล้วตับจะส่งมาที่ปอด ปอดจะส่งไปที่ผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป

( เวลา 13.00 - 15.00 น. ) ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องปวดท้องบ่อย เพราะมีไขมันเกาะลำไส้เล็ก ไขมันที่เคลือบลำไส้จะเคลือบขยะเอาไว้ด้วยแล้วสะสมกัน ทำให้เกิดแก๊ส และมีอาการปวดท้องตอนบ่ายในช่วงเวลานี้ ถ้ากินสูตรโยเกิต+นมสด+น้ำผึ้ง+มะนาว และขมิ้นชัน จะช่วยล้างลำไส้เล็กได้ดีที่สุด สูตรโยเกิตนี้ตัวจุลินทรีย์จะช่วยเปลี่ยนขยะในลำไส้เล็กให้เป็น บี 12 เพื่อส่งไปเลี้ยงสมองต่อไป

( เวลา 15.00 - 17.00 น. ) ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชายเวลานี้ด้วย จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้

กินเลยเวลาจากช่วงนี้จนไปถึงการกินก่อนนอน ขมิ้นชันจะไปช่วยเรื่องความจำให้ความจำดี ตื่นนอนขึ้นมาตอนเช้าจะไม่ค่อยเพลีย และช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น การกินขมิ้นชันมากจะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ผิวหนังไม่ให้เป็นผดผื่นคันง่ายๆ และช่วยขับไขมันในตับ ถ้ากินในปริมาณมาก

การกินขมิ้นชัน แบบผงหรือบรรจุแคปซูล ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานและสะอาดเชื่อถือได้ ไร้สารเคมีไม่มีสเตอรอย์ที่เกิดจากการอบแห้งด้วยความร้อนเกิน 65 องศา ควรตัดสินใจเอง เพราะเราจะต้องกินทุกวัน ก็ควรกินให้ปลอดภัยและสบายใจ

ถ้ากินขมิ้นชัน แบบผง 1 ช้อนชา ใช้ผสมน้ำ 1 แก้ว(ไม่เต็ม) ขมิ้นชันจะไหลผ่านส่วนต่างๆ ตั้งแต่
  • ผ่านลำคอ ช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ แล้วไปผ่านปอดช่วยดูแลปอดให้หายใจดีขึ้น
  • ผ่านม้าม ก็ลดไขมัน และปรับน้ำเหลืองไม่ให้น้ำเหลืองเสีย
  • ผ่านกระเพาะอาหาร ก็จะรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
  • ผ่านลำไส้ ก็สมานแผลในลำไส้
  • ผ่านตับ ก็ไปบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ


เอกสารอ้างอิง :
จากหนังสือ กินเป็น ลืมป่วย ล้างพิษในร่างกาย

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรเถาวัลเปรียง สธ.สั่งผลิตนำมาใช้รักษา

ข้มูลทางวิทยาศาสตร์

มุนไพรเถาวัลย์เปรียง




ทางเลือกใหม่ สธ.วิจัยสำเร็จ ทำยารักษาโรคปวดหลัง

กระดูก สันหลังของมนุษย์เป็นอวัยวะที่ออกแบบมาอย่างงดงามลงตัวครับ แต่มักเกิดปัญหาจุกจิกกวนใจเสมอ คล้ายกับรถยนต์บางคันบางยี่ห้อ แม้ราคาแพงแต่อาจใช้งานได้จำกัด เฉก เช่นเดียวกันเปรียบได้กับร่างกายของมนุษย์ตลอดชีวิตของมนุษย์ทุกคนย่อมมี โอกาสเป็นโรคปวดหลัง อย่างน้อยสักครั้ง หรือ อาจจะปวดหลายๆครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มมีอายุมากขึ้นหรือแม้กระทั่งหนุ่มสาว ซึ่งผู้ที่ทรมานกับอาการปวดหลังมักต้องการวิธีเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการความ ทรมานให้ทุเลาลง
หาก จะอธิบายเป็นภาษาทางการแพทย์ โรคปวดหลังเป็นปัญหาที่ซับซ้อนครับ เนื่องจากทั้งอาการทางร่างกาย และปัญหาทางจิตใจมักปะปนกัน บางครั้งอาการปวดอาจรุนแรงถึงขั้นสุดแสนทรมาน แต่บ่อยครั้งอาการปวดกลับหายไปเอง บางคนยอมรับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด เพราะต้องการหายปวดโดยเร็ว แต่การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังเป็นวิธีรักษาที่อันตราย มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่เป็นผลกับทุกคน แต่ก็ยังมีวิธีรักษาวิธีใหม่ ซึ่งง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า สำหรับโรคที่เป็นปัญหามากที่สุดโรคหนึ่ง
ซึ่งการแพทย์ทางเลือก มีการแพทย์ทางเลือกและการรักษาแพทย์พื้นบ้านหลายวิธีที่ใช้ได้ผลดี นั่น คือ การจัดกระดูก จัดตำแหน่งข้อต่อและเนื้อเยื่อบริเวณกระดูกสันหลังให้เข้าที่ เป็นวิธีที่ปลอดภัย และผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยอมรับ อีกวิธีคือ การนวดบำบัด และ การฝังเข็ม เป็นอีกวิธี ซึ่งเป็นที่นิยม ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิธีการรักษาซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร ที่กล่าวมาทั้งหมดคืออากรของคนปวดหลังและการเยียวยารักษา แต่สิ่งที่จะหยิบยกมาเล่านี้อาจจะเรียกว่าเป็นข่าวดี ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการบรรเทาโรคปวดหลัง
พราะเมื่อวานนี้ 20 พ.ค.2550 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เขาได้ออกมาเปิดเผยการศึกษา วิจัยค้นคว้า สกัดสารสำคัญ จากพืชสมุนไพร ซึ่งถือว่าในบ้านเรามีอยู่เป็นจำนวนมาก สมุนไพรที่ว่านั้นก็คือ เถาวัลย์เปรียง อาจะแปลกหูสักนิด แต่เขาวิจัยกันออกมาแล้วว่า เป็นยารักษาโรคปวดหลัง-ปวดตามข้อ ใช้แทนยาแก้อักเสบสเตียรอยด์ รักษาอาการปวดหลังได้ดีทีเดียว และขณะนี้ได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว เตรียมขึ้นทะเบียนตำรับยา อย. พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้องค์การเภสัชกรรม ผลิตรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ
นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บอก ว่า ถือเป็นหนึ่งในยุทธ์ศาสตร์สำคัญของกรม ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาฤทธิ์ในสมุนไพรหลายชนิด และทดลองสกัดในห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย ทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และ จากการทดลองวิจัยเถาวัลย์เปรียงพบ ว่าสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบประเภทสเตียรอยด์ที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรค ปวดหลังและปวดตามข้อได้ ซึ่งหลังจากที่ใช้เวลาทำการทดลองนานเกือบ 10 ปี ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งระยะที่ 1 และ 2 ให้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ โดยให้ยาแก่อาสาสมัครครั้งละ 1 แคปซูล (200 มก./ แคปซูล) หลังอาหารวันละ 2 ครั้ง นาน 2 เดือน ร่างกายสามารถดูดซึมยานี้ได้ดี ไม่มีความเป็นพิษหรือผลข้างเคียง ทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายไดอีกด้วย เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เถาวัลย์เปรียงให้คุณประโยชน์ได้อย่างมากมาย
นายแพทย์ ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เพื่อ เตรียมขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว และ เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีสกัดสารสำคัญเพื่อให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายใน ระดับอุตสาหกรรม ให้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง เบื้องต้นได้ประสานไปยังองค์การเภสัชกรรม หรือ อภ. เพื่อ ให้มีการผลิตเป็นจำนวนมาก โดยให้โรงพยาบาลต่าง ๆ นำไปใช้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุในแถบภาคเหนือและอีสานที่มักเจ็บป่วยด้วยโรคปวด หลังและตามข้อ หรืออาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับชุมชนเพื่อให้มีการนำไปใช้รักษาอย่าง แพร่หลาย
ขณะนี้เถาวัลย์เปรียงได้นำจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทันทีที่การวิจัยแล้วเสร็จ และในปี 2550 นี้ จะมีการผลิตออกมาเป็นยาในรูปแคปซูลเพื่อใช้รักษา ทั้งนี้เถาวัลย์เปรียงอยู่ในตระกูลพืชประเภทเถาวัลย์ พบมากตามป่า แต่สามารถนำมาปลูกได้ นับว่าเป็นความสำเร็จของนักวิจัยไทยในการวิจัยสมุนไพรไทยภายหลังจากที่ใช้ เวลาศึกษาและทดลองนายหลายปี
ละเมื่อ เดือน ก.ย 51นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการวิจัย “เถาวัลย์เปรียง”
พบ สารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด ต้านการอักเสบสามารถใช้แทนยาแก้อักเสบที่เป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคปวด หลังส่วนล่างได้ขณะนี้ได้ผ่านการทดสอบทางคลินิกในคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ขณะ เดียวกัน ทางสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการศึกษาความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์ เปรียงเมื่อทำการทดลองความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัด เถาวัลย์เปรียงในสัตว์ทดลองพบว่ามีความปลอดภัยสูงนอกจากนี้ยังได้ทดสอบ สรรพคุณในอาสาสมัครโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยแบ่งเป็น
กลุ่มที่ได้รับยาต้านอักเสบ Naproxen และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงก็ พบว่าสารสกัดจากเถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิผลในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ดี และมีแนวโน้มว่าปลอดภัยกว่ายา Naproxenเพราะพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา Naproxen มีอาการหิวบ่อย แสบท้อง จุกเสียดแน่นท้องในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่มีอาการ ข้างเคียงดังกล่าว
ที่สำคัญคือเมื่อ เปรียบเทียบราคาของแคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียง 400มก.กับยาแก้อักเสบ NSAIDSพบว่าแคปซูลที่บรรจุสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีราคาไม่เกิน 10 บาทส่วนยากลุ่ม NSAIDS ที่ระบุว่าไม่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารมีราคาสูงกว่าประมาณ 4 ถึง 6 เท่า

ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วและ อยู่ระหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้องค์การ-เภสัชกรรมในการสกัดสารสำคัญเพื่อ ให้มีการผลิตเป็นยาออกจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรมให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆ ได้นำไปใช้กับผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุเช่นในแถบภาคเหนือและอีสานที่มักเจ็บ ป่วยด้วยโรคปวดหลังและปวดตาม-ข้อหรืออาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในระดับ ชุมชนเพื่อให้มีการนำไปใช้รักษาอย่างแพร่หลาย” นพ.มานิตให้ข้อมูล
มาทำความรู้จักกับ เถาวัลย์เปรียง
เถาวัลย์เปรียง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens Benth. หรือ ที่รู้จัดในชื่อท้องถิ่นว่า เถาตาปลา เครือตาปลา เครือเขาหนัง พานไสน ย่านเหมาะ มีลักษณะเป็นไม้เถาขนาดใหญ่เป็นพุ่มเลื้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย รูปวงรี ดอกออกเป็นช่อห้อยลงด้านล่าง มีสีขาว กลีบดอกสีม่องดำ ผลเป็นฝักแบนเล็ก มีเมล็ด มีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย แก้เส้นเอ็นขอด ทำให้เส้นอ่อน บางแหล่งนิยมนำเถาหั่นตากแห้งคั่วไฟ ชงน้ำดื่มแทนชา ใช้แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ถ้าใช้ดอง เหล้าจะเป็นยาขับระดู และตามตำรับยาแผนโบราณยังนำมาใช้เป็นส่วนประกอบยาอายุวัฒนะเพื่อช่วยให้ร่าง กายแข็งแรง
สำหรับองค์ประกอบทางเคมีของลำต้นเถาวัลย์เปรียงเป็นกลุ่มไอโซฟลาโวน (isoflavone) ไอโซฟลาโวน กลัยโคซัยด์ (isoflavone glycoside) และ พรีนิลเลดเตดไอโซฟลาโวน (prenylated isoflavone)
งานวิจัยการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเถาวัลย์เปรียง
ฤทธิ์ต้านอักเสบในหลอดทดลอง
สารสกัดด้วยน้ำลดการหลั่ง myeloperoxidase (88%) จาก rat peritoneal leukocytes ที่ถูกกระตุ้นด้วย calcium ionophore มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (Anti-inflammation) โดยการยับยั้งการสังเคราะห์สารอิโคซานอยด์ (Eicosanoid)

สารสำคัญที่พบในส่วนสกัดด้วยน้ำ ได้แก่ 7-O-a-rhamnol(1?6)-b-glucosylgenistein, genistein, 5,7,4’-trihydroxy-6,5’-diprenylisoflavone และ scandenin มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบโดยยับยั้ง Cyclooxygenase โดยมีค่า IC50 = 1500, 100, 3 และ 8 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ) และยับยั้ง 5- Lipooxygenase (IC50 = 2500, 80, 6 และ 1.6 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ)

Genistein และ scandenin ลดการหลั่ง Elastase myeloperoxidase จาก rat peritoneal leukocytes โดยมีค่า IC50 = 0.22 และ 0.14 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ
การศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดหยาบของเถาวัลย์เปรียง
ได้ศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50 % เอธานอล ในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ โดยป้อนสารสกัดขนาด 6, 60 และ 600 มิลลิกรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม/วัน หรือเทียบเท่าผงเถาวัลย์เปรียงแห้ง 0.03, 0.3 และ 3 กรัม/น้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม/วัน หรือคิดเป็น 1, 10 และ 100 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนต่อวัน ติดต่อกันนาน 6 เดือน พบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีของซีรั่ม หรือจุลพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่มีความสัมพันธ์กับขนาดของสารสกัด และไม่พบความผิดปกติใด ๆ ที่สามารถสรุปได้ว่ามีผลสืบเนื่องมาจากความเป็นพิษของสารสกัด
การทดสอบความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครสุขภาพด
ได้ทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิผลเบื้องต้นของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงต่อระบบภูมิคุ้มกันในอาสาสมัครจำนวน 12 ราย โดยให้รับประทานแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50 % เอธานอล ครั้งละ 1 แคปซูล (200 มิลลิกรัม/แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าทั้ง 12 ราย ไม่มีอาการข้างเคียง ใด ๆ ระหว่างรับประทานสารสกัด ค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีบางค่ามีการเปลี่ยนแปลงแต่อยู่ในช่วงของ ค่าปกติ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณของ IL-2, IL-4 และ IL-6 ในซีรั่มเพิ่มขึ้น จากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงที่ขนาด 400 มิลลิกรัม/วัน มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานติดต่อกันนาน 2 เดือน และสามารถเหนี่ยวนำให้มีการหลั่งของ IL-2, IL-4 และ IL-6 ที่อาจมีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การศึกษาประสิทธิผลในการเพิ่มภูมิคุ้มกันของเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครสุขภาพด
ได้ศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 47 ราย โดยให้รับประทานแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วย 50 % เอธานอล ครั้งละ 1 แคปซูล (200 มิลลิกรัม/แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าไม่มีอาการข้างเคียงใด ๆ ระหว่างรับประทานสารสกัด ค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีบางค่ามีการเปลี่ยนแปลงแต่อยู่ในช่วงของ ค่าปกติ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณของ IL-2 และ ¡- IFN ในซีรั่มเพิ่มขึ้น สรุปได้ว่า สารสกัดเถาวัลย์เปรียงขนาด 400 มิลลิกรัม/วัน มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานติดต่อกันนาน 2 เดือน และมีส่วนช่วยควบคุมและ/หรือเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การศึกษาสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูลในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง
ทำการวิจัยที่คลินิกในผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ทดลองในผู้ป่วย 70 รายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูล ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เป็นเวลา 7 วัน) 37 ราย และกลุ่มควบคุม (ได้รับยา diclofenac 25 มก. ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เป็นเวลา 7 วัน ) 33 ราย พบว่าทั้งสองกลุ่มระดับความรู้สึกปวดลดลงในวันที่ 3 และ 7 ของ การรักษา และระดับความรู้สึกปวดของทั้งสองกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบกัน พบว่าไม่แตกต่างกัน ทั้งก่อนเริ่มรักษา และระหว่างรักษา สำหรับผลข้างเคียงนั้นพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงแคปซูลนั้น มีค่าทางโลหิตวิทยา เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยกล่าวคือจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงในวันที่ 7 ของการให้ยา แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนค่าทางชีวเคมีไม่พบการเปลี่ยนแปลงใดๆ ส่วนผู้ที่ได้รับยา diclofenac นั้นไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่าทางโลหิตวิทยา และค่าทางชีวเคมี
เอกสารอ้างอิง
1. ยุทธพงษ์ ศรีมงคล และคณะ, การเปรียบเทียบสรรพคุณของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงกับไดโคลฟีแนคเป็นยาบรรเทาอาการ
ปวดหลังส่วนล่าง, วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 5 เดือน มกราคม-เมษายน 2550 (ฉบับที่ 1) : หน้า 17-22.
2.
ปราณี ชวลิตธำรง และคณะ, การทดสอบความปลอดภัยของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในอาสาสมัครสุขภาพดี(บทคัดย่อ), รวมบทคัดย่องานวิจัยด้านสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทสปีด กราฟฟิคเฮาส์ จำกัด; 2550
3.
ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชีวะพัฒน์, อัญชลี จูฑะพุทธิ, สดุดี รัตนจรัสโรจน์ และ สมเกียรติ ปัญญามัง, การศึกษาพิษเรื้อรัง
ของสารสกัดหยาบของเถาวัลย์เปรียง (Derris scandens Benth.). ว. สงขลานครินทร์ วทท. 2542 21(4) : 425-433
4. Laupattarakasem P., Houghton P.J., Hoult J.R.S., Itharat A., An evaluation of the activity
related to inflammation of four plants used in Thailand to treat arthritis. J of Ethanopharmacology
2003 (85) : 207-215
5.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช, เภสัชกรรมไทย รวมสมุนไพร ฉบับปรับปรุงใหม่. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ กรุงเทพมหานคร พิมพ์ครั้งที่2






ฟังเรื่อง ราวของสมุนไพรเถาวัลย์เปรียง แล้วทำให้รู้สึกสบายใจขึ้นเป็นกอง สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคปวดหลัง ปวดข้อ ปวดกระดูกตามร่างกาย ซึ่งบางรายต้องพึ่งยาแก้ปวดประเภท สเตียรอยด์เพื่อลดอาการปวด แต่ผลข้างเคียงของสารสเตียรอยด์มีมากมาย เช่น ถ้าใช้ไปนานๆ อาจทำให้กระดูกผุได้
ตามข่าว กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้บอกว่า สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง ใช้แทนยาแก้อักเสบสเตียรอยด์ รักษาอาการปวดหลังได้ดี โดยไม่มีความเป็นพิษหรือผลข้างเคียงใดๆ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อีกด้วย
เถาวัลย์เปรียงเป็นสารสกัดจากสมุนไพรเถาวัลย์เปรียง ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอาหารและยา หรือ อย. จัดเป็นอาหารประเภทเครื่องดื่มชนิดเข้มข้น ใช้ชงกับน้ำร้อนหรือน้ำเย็นได้ รสชาติอร่อย มีกลิ่นหอม ไม่มีรสขม สามารถใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะส่วนผสมของชาเถาวัลย์เปรียงใช้น้ำตาลฟรุกโตส ชนิด 99.98 % สามารถใช้ได้กับผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆ ได้ทั่วไป รวมถึงยังใช้เพิ่มภูมิให้กับร่างกายได้อีกด้วย

สมุนไพรจีน เกาหลี โสม


โสม (Ginsing)
เป็นสมุนไพรที่ใช้กันในแถบเอเชียมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว เดิมมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือของจีน เกาหลี และไซบีเรีย ในตำรับเภสัชของจีนได้กล่าวถึงสรรพคุณของรากโสม
ว่าช่วยทำให้อวัยวะภายในเป็นปกติ สงบ ไม่มีอารมณ์หวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ทำให้สุขภาพดี ทำให้
ตาแจ่มใส จิตใจแช่มชื่น เพิ่มความฉลาด ในประเทศไทยมีผู้นิยมรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย
บำรุงกำลัง นับเป็นสมุนไพรที่มีราคาแพง
โสมที่มีการศึกษาวิจัยองค์ประกอบทางเคมี และนำมาใช้กัน มากที่สุดมี 2 ชนิด คือ โสมเอเชีย
ซึ่งนิยมเรียกว่า โสมจีน หรือโสมเกาหลีนั่นเอง และอีกชนิดคือโสมอเมริกัน โดยเฉพาะในประเทศจีน
ความต้องการของตลาดสูงมาก และมีการปลูกมาก เนื่องจากเชื่อว่าการเกิดโรคต่างๆ มีสาเหตุจาก
ความไม่สมดุลของของหยิน และหยาง และการใช้โสมสามารถปรับสมดุลร่างกายได้ ในประเทศจีน
มีการใช้โสมทั้ง 2 ชนิด สำหรับโสมอเมริกัน มีสมบัติเป็นยาเย็น (yin) และโสมจีนมีสมบัติเป็นหยาง
(yang) หรือยาร้อน ปกติโสมเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า มีความสูงของต้นเพียง 60-80 เซนติเมตร
เท่านั้น และต้องรอนานถึง 6 ปี จึงจะได้รากโสมที่มีสารสำคัญทางยาในปริมาณสูงสุด
สรรพคุณของโสม
จากการศึกษาวิจัยพบว่าโสมมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ที่สำคัญๆ ได้แก่
1) เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของร่างกายให้สูงขึ้น เนื่องจากโสมมีสรรพคุณในการต้านความ
เมื่อยล้า (anti-fatigue effect) จากกลไกร่วมกันหลายอย่าง เช่น การเพิ่มการดูดซึมออกซิเจนของ
ผนังเซล เซลจึงสามารถสร้างพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นโสมยังช่วยปรับ
การเต้นของหัวใจ ให้กลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้น ร่างกายจึงเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการทำงาน
มากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพการทำงานของร่างกายดีขึ้น และช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ
ของผู้ป่วยในระหว่างพักฟื้น ให้หายเจ็บป่วย เป็นปกติได้เร็วขึ้น และเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื่อกันว่าโสมมี
สรรพคุณกระตุ้นสมรรถนะทางเพศ ทั้งนี้มีรายงานว่าโสมมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดด้วย
2) คุณสมบัติต่อต้านความเครียด (anti-stress effect) โดยจะช่วยปรับร่างกาย และจิตใจ ให้ทนต่อ
ความกดดันจากภายนอก โดยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่มีผลป้องกัน และลดความเครียดจากต่อม
ใต้สมอง และช่วยคลายความวิตกกังวล
3) กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีผลให้รู้สึกมีชีวิตชีวา กระปรี้กระเปร่า โดยไม่ทำให้เกิดการอ่อนเพลี
หรืออ่อนล้าตามมา เหมือนยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอื่นๆ โดยพบว่าซาโปนินจาก
โสมเมื่อให้ในขนาดน้อยๆ จะมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่เมื่อให้ในขนาดสูงๆจะมีฤทธิ์
กดประสาท ดังนั้นควรรับประทานในขนาดที่พอเหมาะนะคะ มิเช่นนั้นอาจได้ผลตรงกันข้าม
4) เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีผลกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแบบไม่เฉพาะเจาะจง มีรายงานว่า
เพิ่มเม็ดเลือดขาวบางชนิดจึงเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม
5) มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน มาควบคุมระดับน้ำตาล
ในเลือดให้เป็นปกติ
6) ชะลอความแก่ เนื่องจากโสมมีฤทธิ์ทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจนที่เกิดจากการทำลายไขมัน
(lipid oxidation) อนุมูลอิสระนี้มีอนุภาพทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ ให้เสื่อมสลายลงก่อนเวลาอันควร
ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลทำให้เกิด "ชราภาพ (aging)" เนื่องจากผลของโสมในการปรับสภาพร่างกาย
และจิตใจให้ทนต่อความกดดัน เชื่อว่าช่วยเสริมฤทธิ์กันทำให้โสมมีสรรพคุณ "ชะลอความชรา" ได้

แอล-อาร์จินีน
Arginine มีสูตรเคมี C6 H14 N4 O2 เป็นกรดอะมิโนชนิดเบส (basic amino acid) สามารถรับ
โปรตอนได้ที่ pH เป็นกลาง ใช้สังเคราะห์เป็นยูเรียได้
กรดอะมิโนและนิวคลีโอไทด์ เป็นสารตั้งต้นที่จำเป็นต่อการสร้างโปรตีน โดยจะถูกสร้างขึ้นในอัตรา
ที่น้อยมากให้เพียงพอกับความต้องการเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากกรณีของสารพวกคาร์โบฮัยเดรท
และไขมัน ซึ่งสามารถสังเคราะห์จนเกินพอ แล้วเก็บสะสมไว้ในร่างกายได้
ร่างกายเราสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้ 10 ชนิด จากทั้งหมด 20 ชนิด กลุ่มที่สร้างได้เองนี้
จัดเรียกเป็นกรดอะมิโนไม่จำเป็น (non–essential amino acid) ส่วนอีก 10 ชนิดที่จำต้องได้รับจาก
อาหาร เรียกว่ากรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) ได้แก่ Ile, Leu, Lys, Met, Phe, ThR,
Trp, Val, His และ Arg (อาร์จินีน) (แต่บางตำราจัดให้อาร์จินีน เป็นกรดอะมิโน ไม่จำเป็นก็มี)
บทบาท / กลไกการออกฤทธิ์
อาร์จินีน ใช้สร้างไนตริค ออกไซด์ (nitric oxide) โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ nitric oxide
synthase ทำปฏิกิริยา deamination ผลของการเกิดไนตริค ออกไซด์ ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
(vasodilate)
โดยเมื่อ acetyl choline ถูกหลั่งจากปลายเซลล์ประสาทมาที่ผนังหลอดเลือดจะกระตุ้นให้
endothelial cellsสร้างไนตริค ออกไซด์ จากกรดอะมิโนแอล อาร์จินีน (L–arginine) ซึ่งจะซึมผ่าน
ผนังเซลล์ออกมาที่เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ที่อยู่ใกล้เคียง แล้วแพร่ผ่านผนังเซลล์ของเซลล์กล้ามเนื้อ
เรียบเข้าไปจับกับอะตอมของเหล็กที่เอนไซม์ guanylyl cyclase ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อเรียบผลิต
cGMP สูงขึ้น นำไปสู่การคลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ มีผลให้หลอดเลือดขยายตัว
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า อาร์จินีนเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของไนตริคออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวขยายหลอดเลือด
โดยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ guanylyl cyclase ในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ทำให้มีระดับ
cGMP สูงขึ้น เกิดการคลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ส่งผลให้หลอดเลือดขยายได้
อีกทั้งควบคุมการคืนตัว ใช้น้ำตาลในกระแสเลือด
เมื่อกล้ามเนื้อเรียบในหลอดเลือดขององคชาติคลายตัว ส่งผลให้หลอดเลือดขยาย
เลือดก็ไหลเวียนได้มากขึ้น เมื่อหลอดเลือดขยาย ผลตามมาคืออวัยวะพองขยาย และแข็งตัวขึ้น
ประโยชน์
อาร์จินีน จึงถูกใช้รักษาโรค ED (หย่อนสมรรถภาพทางเพศ) และยังช่วยลดความดันเลือด ได้อีกทาง
หนึ่งในแง่เปรียบเทียบกับยารักษา ED แอลอาร์จินีน เป็นทางเลือกที่ฉลาดกว่า จากการที่มันช่วยให้
หลอดเลือดในองคชาติผ่อนคลาย เกิดการแข็งตัวแบบธรรมชาติ
มีงานวิจัยที่มีอาร์จินีน, กิงโก, โสมเกาหลี, โสมอเมริกัน และไวตามินเกลือแร่ จากชาย 21 คน
ที่เป็น ED ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง พบว่า 88.9% มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้นานขึ้น
และ 78% รู้สึกได้ถึงผลของเพศสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
โคเลสเตอรอลนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด พบว่าอาร์จินีนมีแนวโน้มช่วยลดการจับตัวของ
เกล็ดเลือด และลดการไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็น
ลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของหัวใจพิบัติ และหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ โดยขยายหลอดเลือด
และลดความดันเลือด อาร์จินีนจึงมีประโยชน์ ต่อผู้ที่โคเลสเตอรอลสูง เพราะเกล็ดเลือดของ
คนกลุ่มนี้จะข้นกว่าผู้ที่ระดับโคเลสเตอรอลปกติ

สมุนไพรรักษาโรค ลูกใต้ใบ


ลูกใต้ใบ

ไวรัสตับ เจริญอาหาร
ข้อควรระวัง สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานเพราะลูกใต้ใบเป็นขาขับประจำเดือน
ด้านงานวิจัย
1. สารสกัดลูกใต้ใบยืดอายุหนูที่เป็นมะเร็งตับ โดยให้หนูขาวที่เป็นมะเร็งตับกินสารเอน-ไนโตรโซไดเอทิลเอมีนนาน 20 สัปดาห์แล้วให้สารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดิบลูกใต้ใบในขนาด 150มก/กก. น้ำหนักตัวนาน54 สัปดาห์ หรือจนสัตว์ทดลองตายพบว่าสารสกัดลูกใต้ใบสามารถยืดอายุสัตว์ทดลองที่เป็น มะเร็งตับอายุเฉลี่ย52.2+2.3 สัปดาห์ ในขณะที่สัตว์ทดลองกลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดมีอายุเฉลี่ย 33.7+1.6 สัปดาห์ สารสกัดลูกใต้ใบยังมีผลลดค่าทางชีวเคมีอื่น ๆ เช่นลดระดับเอนไซม์แกมม่ากลูตามิล ทรานสเปปทิเดสในซีรัม ลดระดับเอนไซม์กลูตาไธโอน เอส-ทรานสเฟอร์เรสและลดระดับสารกลูตาไทโอนในเนื้อเยื่อตับ
ที่มา:หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2.การ ลดลองใช้ยาสมุนไพรรักษาไวรัสตับอักเสบการทดลองนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะ แพทย์จากสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกาและคณะแพทย์อิเดียแห่งเมืองมีคราสได้ศึกษาวิจัยพืชสมุนไพรกว่า 1,000 ชนิด ในการสังเคราะห์สารดีเอ็นเอที่จำเป็นในการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ที่มีในร่างกายผู้ป่วย จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากลูกใต้ใบหรือมะขามป้อมดิน มีฤทธิ์สูงสุด การทดลองทางคลินิคในมีคราสทําโดยการใช้แคปซูลยา 200 มก.ให้ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี 37 คน วันละครั้งเป็นเวลา 30 วันติดต่อกัน พร้อมกับให้ยาหลอกเป็นน้ำตาลแล็กโทส23 คน หลังจากนั้นเจาะเลือดผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วย 22 คน (ร้อยละ 59) ไม่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกเพียง 1 คนที่ไม่พบเชื้อไวรัสในกระแสเลือดและหลังติดตามผลการรักษาต่อ 9 เดือนพบว่าผู้ป่วยทั้ง 22 คน ยังคงตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในกระแสเลือดต่อไป แพทย์พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแต่ไม่ได้ผลนั้นเกิดจากผู้ป่วยกลุ่มนั้น เพิ่งได้รับเชื้อไวรัสใหม่ ๆ จึงมีเชื้อไวรัสจำนวนมากเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว จึงควรให้ยาในขนาดที่สูงขึ้นอีก การใช้ลูกใต้ใบในการรักษาอาการดีซ่านได้กล่าวไว้ในตำรายาอายุรเวท อินเดียนานกว่า 2000 ปีแล้วและสารสกัดจากพืชนี้ได้มีการใช้รักษาอาการดีซ่านในประเทศจีน ฟิลิปปินส์ คิวบา ไนจีเรีย กวม แอฟริกาตะวันออกและตะวันตก อเมริกาใต้และอเมริกากลาง
ที่มา : Herbal drug succeed in hepatitis triais. Far East Health 2531, 11:8) ร.ศ.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์
ลูกใต้ใบ?

สมุนไพร แก้ไข้ แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่พระธุดงค์ตากแห้งพกติดกาย ชงเป็นชายามเดินธุดงค์เพื่อใช้แก้ไข้

สมุนไพร แก้ไข้ แก้อักเสบ แก้ปวดเมื่อย ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่พระธุดงค์ตากแห้งพกติดกาย ชงเป็นชายามเดินธุดงค์เพื่อใช้แก้ไข้ที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ อาทิ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไข้จากอ่อนเพลีย ไข้จับสั่น รวมทั้งแก้ท้องเสียได้ดีนัก ชาวบ้านในหลายพื้นที่นิยมตากลูกใต้ใบให้แห้งเก็บใส่โหลไว้ชงเป็นชากินเพื่อ แก้ไข้ แก้ปวดข้อ แก้อักเสบ แก้ปวด มีรายงานการวิจัยพบว่าลูกใต้ใบมีฤทธิ์ในการแก้ไข้ แก้อักเสบได้ สอดคล้องกับการใช้ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน
ลูก ใต้ใบ?สมุนไพรบำรุงตับ ลดอาการตับอักเสบสร้างความสมดุลของไขมันในตับ หมอยาคนจีนเชื่อว่าถ้ากินลูกใต้ใบติดต่อกันหนึ่งสัปดาห์จะช่วยกำจัดพิษออก จากตับ มีผลทําให้สายตาดี บำรุงตับ รักษาอาการดีซ่าน ซึ่งก็คล้ายๆ กับหมอยาพื้นบ้านไทยและหมออายุรเวทอินเดียที่มีความเชื่อว่า ลูกใต้ใบเกิดมาเพื่อตับ ใช้ต้มกินเป็นยาแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งมีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดจากลูกใต้ใบมีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้ตับถูกทําลายจากสารพิษ เช่น เหล้า รักษาอาการอักเสบของตับทั้งประเภทเฉียบพลันและเรื้อรัง ลูกใต้ใบยังช่วยปรับไขมันในตับให้เป็นปกติ
ลูก ใต้ใบยังเหมาะที่จะใช้ทําเป็นชาสมุนไพรให้กับคนไข้ที่เป็นมะเร็งตับ เพราะมีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่า น้ำต้มของลูกใต้ใบทําให้หนูที่เป็นมะเร็งตับมีอายุยืนยาวขึ้น ด้วยกลไกที่ทําให้เซลล์มะเร็งเติบโตช้าลงแต่ไม่ได้ฆ่าเซลล์มะเร็งโดยตรง
ลูก ใต้ใบ?สมุนไพรของผู้ป่วยเบาหวานลูกใต้ใบ เป็นสมุนไพรยอดนิยมของผู้ป่วยเบาหวาน หมอยาและชาวบ้านในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เชื่อว่าลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรช่วยคุมระดับน้ำตาลในคนเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาพบว่าสารสกัดของลูกใต้ใบมีฤทธิ์ลดระดับ น้ำตาลในเลือดได้
ข้อ แนะนำ...สำหรับการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน หากจะใช้สมุนไพรต้องรับประทานยาแผนปัจจุบันตามคำสั่งแพทย์และมีการตรวจวัด ระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีรายงานที่แสดงให้เห็นว่าลูกใต้ใบช่วยเสริมฤทธิ์ของยาเบาหวาน

ลูกใต้ใบ?สมุนไพร ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว
หมอ ยาทั่วทุกภาคจะใช้ลูกใต้ใบในการเป็นยาขับนิ่วมีรายงานการศึกษาสมัยใหม่ว่า ลูกใต้ใบมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ซึ่งมีประโยชน์ในการขับนิ่ว และลดความดัน ฤทธิ์ในการขับนิ่วนั้น มิใช่หมอยาพื้นบ้านไทยเท่านั้นที่รู้จักใช้ ในสเปน เรียกลูกใต้ใบว่า Chanca piedra มีความหมายว่า นักทุบหิน หรือทําให้หินเป็นชิ้นเล็กๆ (Stone breaker or Shatter stone) ในบราซิลเรียกลูกใต้ใบว่า Quebra-pedra หรือ Arranca-pedras ซึ่งมีความหมายในทํานองเดียวกัน หมอยาพื้นบ้านในแถบลุ่มน้ำอเมซอนนิยมใช้ลูกใต้ใบ ต้มกินในการรักษานิ่วทั้งนิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในไต มีรายงานการศึกษาพบว่าลูกใต้ใบมีฤทธิ์ทั้งป้องกันและกำจัดนิ่ว
ลูก ใต้ใบ เป็นสมุนไพรที่จัดว่ามีการใช้กับระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยมีการนำไปใช้รักษาอาการมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ใช้ในการขับปัสสาวะ ลดอาการบวม และขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ ซึ่งช่วยในคนเป็นโรคเก๊าท์
ที่มา : หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เอกสารอ้างอิง
1. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2548. งานจุฬาฯวิชาการ 48 :
 สมุนไพรที่มีฤทธิ์ปกป้องตับจากเอทานอล.
 สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2553. สืบค้นจาก
http://www.pharm.chula.ac.th/physiopharm/2548_sem2/group6.html
2. ฐานข้อมูลสมุนไพรไทย ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. ลูกใต้ใบ.
 สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2553. สืบค้นจาก
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/medplantdatabase/search_herbal.asp
3. ไพร มัทธวรัตน์. หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม
. ลูกใต้ใบ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2553. สืบค้นจาก http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/rs/herb/112-phyllanthus

สนใจโทรสอบถามและปรึกษาได้ที่  0899371691  0819541900