วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ริดสีดวงทวาร โรคที่ทุกข์ทรมาน ด้วยภูมิปัญญาไทย

ความรู้เรื่องโรค การป้องกันและรักษา ริดสีดวงทวาร


ริดสีดวงทวารหนัก หมายถึง การมีหลอดเลือดขอดโป่งพองของผนังเยื่อบุทวารหนัก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นจะพบเป็นก้อนโป่งพอง โผล่ออกมาขณะอุจจาระ หรืออาจทำให้เกิดอาการเลือดออกขณะหรือหลังถ่ายอุจจาระได้
ริดสีดวงทวารหนักเกิดขึ้นได้อย่างไร : โดย ปกติแล้วที่ บริเวณทวารหนักจะมีเลือดมาเลี้ยงมาก และมีลักษณะพิเศษอีก คือ มีกลุ่มหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแหที่บริเวณเยื่อบุทวารหนัก 3 กลุ่มใหญ่ โดยรอบทวารหนัก เลือดภายในกลุ่มหลอดเลือดดำเหล่านี้จะไหลถ่ายเทขึ้นไปสู่หลอดเลือดดำใหญ่ภาย ในช่องท้อง แต่ถ้าหลอดเลือดไหลถ่ายเทไม่สะดวก และเป็นบ่อย ๆ จะเกิดการคั่งขึ้นภายในร่างแหหลอดเลือดดำ เกิดเป็นหลอดเลือดขอดโป่งพองขึ้นได้ เรียกว่า ริดสีดวงทวารหนัก ริดสีดวงทวารหนักอาจเกิดเป็นแบบภายในหรือภายนอก ขึ้นกับว่าเกิดที่หลอดเลือดภายใน หรือนอกทวารหนัก ส่วนมากมักเป็นแบบภายใน
สาเหตุของการเกิดริดสีดวงทวารหนัก : ที่พบบ่อยที่สุด คือ อุปนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระ และการรับประทานอาหาร
ท้องผูก คือ การถ่ายอุจจาระลำบาก หลายๆ วันถ่ายครั้งหนึ่ง พวกนี้มักมีอุจจาระแข็ง ต้องเบ่งอยู่นานขณะขับถ่าย นั่งถ่ายอุจจาระนาน การรับประทานอาหาร ที่ไม่ค่อยมีผัก และผลไม้ จะทำให้อุจจาระมีกากอาหารน้อย ทำให้ท้องผูกได้มาก
สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนัก ได้แก่ การตั้งครรภ์ เพราะมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น กดทับทำให้เลือดดำไหลถ่ายเทลำบาก เกิดการคั่งได้ง่าย นอกจากนั้นยังกดลำไส้ใหญ่ทำให้ท้องผูกบ่อย ๆ ยิ่งทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนักมากขึ้น หรือมีเนื้องอกอยู่ภายในลำไส้ใหญ่ อุจจาระออกลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากก็มีโอกาสเกิดได้ง่ายขึ้น
อาการ : ผู้ที่เป็น ริดสีดวงทวารหนัก โดยมากมักมีอาการถ่ายเป็นเลือด เลือดที่ออกมักจะเป็นเลือดสดๆ ระยะแรกอาจสังเกตว่ามีเลือดติดกระดาษชำระหลังอุจจาระ หรือเคลือบอุจจาระออกมา ต่อมาอาจออกมากจนมีเลือดหยดลงในโถส้วมขณะถ่ายอุจจาระ ถ้าเป็นมากขึ้นจะพบว่ามีก้อนโผล่ออกมาทางทวารหนัก โดยเฉพาะหลังถ่ายอุจจาระโดยมากจะไม่มีอาการเจ็บปวด (นอกจากถ้ามีการอักเสบร่วมด้วย) ยกเว้นในพวกที่เป็นริดสีดวงทวารหนักแบบภายนอก ซึ่งมักพบก้อนที่ทวารหนักตั้งแต่ระยะแรก และโดยมากจะเจ็บปวดที่ก้อนริดสีดวง จากอาการดังกล่าวทำให้แพทย์แบ่งริดสีดวงทวารหนักออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีแต่อาการเลือดออก การตรวจต้องใช้เครื่องมือพิเศษส่องเข้าไปดูภายในทวารหนัก มองจากภายนอก หรือคลำดูจะไม่สามารถบอกได้เลย
ระยะที่ 2 ถ่ายอุจจาระแล้วมีก้อนริดสีดวงทวารหนักโผล่ออกมาเวลาเบ่ง แต่หดกลับเข้าไปได้เอง
ระยะที่ 3 ถ่ายอุจจาระแล้วริดสีดวงโผล่ออกมา และไม่หดกลับเข้าเองต้องใช้นิ้วมือดันกลับจึงเข้า
ระยะที่ 4 ริดสีดวงทวารโผล่ออกมาภายนอก และไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้
อาการเลือดออกทางทวารหนัก หรือถ่ายเป็นเลือดแม้ว่ากว่า 90% จะเป็นริดสีดวงทวารหนัก แต่ก็อาจเกิดจากโรคอื่นได้ โดยเฉพาะโรคที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งของลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจยืนยันว่าไม่มีโรคร้ายแรงเกิดขึ้น แต่ริดสีดวงทวารหนักเองนั้นไม่ใช่มะเร็ง และไม่ใช่สาเหตุให้เกิดมะเร็ง และการวินิจฉัยที่แน่นอนจะต้องตรวจโดยใช้กล้องส่องดูภายในทวารหนัก
การรักษา : แพทย์จะเลือกวิธีรักษาตามระยะของโรคอาจจะเป็น
1. ให้ยาชนิดป้าย หรือยาเหน็บทวารหนัก ใช้กับโรคระยะที่ 1
2. ใช้ยาฉีดหัวริดสีดวงทวารหนัก ยาจะทำให้หลอดเลือดดำฝ่อ และหัวริดสีดวงทวารหนักยุบลง ใช้กับโรคระยะที่ 2 การฉีดยาจะไม่เกิดอาการเจ็บปวดเลย ได้ผลดีมาก
3. ใช้ยางรัดหัวริดสีดวงทวารหนัก วิธีนี้จะรัดที่หัวริดสีดวงทำให้หัวริดสีดวงฝ่อแล้วหลุดไปเอง หลังรัดด้วยยางประมาณ 7 วัน ได้ประโยชน์ และผลดีในโรคระยะที่ 2 โดยเฉพาะเมื่อหัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ และพบว่ามักไม่มีอาการเจ็บปวดขณะใช้ยารักษาเช่นเดียวกัน
4. ใช้เครื่องขยายทวารหนัก หรือใช้ความเย็นจัด หรือใช้แสงอินฟราเรด เป็นวิธีการรักษาที่ใช้กับระยะที่ 2 แต่ยังไม่ค่อยนิยมเท่าแบบที่ 2, 3
5. ผ่าตัดใช้สำหรับโรคระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งนับว่าเป็นมากแล้ว ความจริงการผ่าตัดไม่น่ากลัวเลย และไม่เจ็บขณะทำผ่าตัด เพราะแพทย์จะให้ยาสลบหรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง หลังผ่าตัดอาจจะเจ็บปวดบ้าง แต่ก็ไม่มากมาย และสามารถระงับได้โดยยาแก้ปวด อยู่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน
ขณะทำการรักษาไม่ว่าโดยวิธีใด แพทย์จะแนะนำวิธีปฏิบัติตน รวมทั้งให้ยาบางอย่างที่จำเป็นเพื่อไม่ให้มีอาการท้องผูก หรือถ่ายอุจจาระลำบากร่วมด้วยเสมอ และการใช้ยากัดริดสีดวงทวารหนักนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำ และจะก่อให้เกิดข้อแทรกซ้อนรุนแรงตามมา เช่น ทวารหนักเน่าหรือตีบตัน
คำแนะนำ
1. ฝึกอุปนิสัยในการถ่ายอุจจาระให้ถ่ายเป็นเวลา และไม่นั่งถ่ายนานหรือเบ่งอยู่นาน ๆ
2. พยายามอย่าให้ท้องผูก โดยการรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้ ดื่มน้ำมากๆ การออกกำลังกายเป็นประจำ มีผู้พบว่าช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
3. ถ้าท้องผูก อาจรับประทานยาระบายชนิดอ่อน โดยเฉพาะประเภทที่ช่วยเพิ่มกากอาหารได้ และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
4. เมื่อมีปัญหาถ่ายเป็นเลือด ควรพบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักแน่ ไม่ใช่โรคร้ายแรงอื่น นอกจากนั้นถ้าเป็นโรคนี้ในระยะแรกๆ จะได้รีบรักษาซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการรักษาโดยการผ่าตัดได้ อย่าอายที่จะพบหรือได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ การวินิจฉัยให้ได้แน่นอนจำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษส่องเข้าไปตรวจภายใน ทวารหนัก ซึ่งก็ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแต่ประการใด และการรักษาโรคโดยการฉีดยา หรือรัดด้วยยางก็ไม่ยุ่งยาก ไม่เจ็บปวด เช่นเดียวกัน
5. ถึงแม้จะเป็นมากแล้ว และต้องรักษาโดยการผ่าตัด ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว การปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้มาก เช่น มีแผลเกิดขึ้นที่หัวริดสีดวง มีการติดเชื้อบางครั้งเลือดออกมากจนเกิดอาการซีด เลือดจางได้ การผ่าตัดทำให้โรคหายขาดเกือบ 100% ถ้าระวังไม่ให้ท้องผูกอีก
6. อย่าซื้อยาเหน็บ หรือยากัดริดสีดวงทวารหนักใช้เอง เพราะมักเกิดอันตรายได้มาก
ข้อมูลจาก : http://www.bangkokhealth.com/gi_htdoc/gi_health_detail.asp?Number=9020


 
 


ริดสีดวงทวาร คือเป็นภาวะที่หลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทั่วไปในบริเวณทวารหนัก เกิดการปูดพองเป็นหัว เรียกว่า หัวริดสีดวง แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว อาจพบเป็นเพียงหัวเดียวหรือหลายหัวก็ได้ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ผิวหนังตรงปากทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงภายนอก ซึ่งอาจมองเห็นจากภายน้อได้ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดที่อยู่ลึกเข้าไปเรียกว่า ริดสีดวงภายนอก ซึ่งอาจมองเห็นจากภายนอกได้ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดที่อยู่ลึกเข้าไปเรียกว่า ริดสีดวงภายใน ซึ่งจะตรวจพบ เมื่อใช้กล้องส่องตรวจไส้ตรง ริดสีดวง ทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อย และพบเป็นสาเหตุอันดับแรกๆ ของอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด โดยทั่วไปจะไม่ค่อยมีอาการรุนแรงหรืออันตราย แต่อาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง น่ารำคาญ หรือทำให้วิตก โดยมากมกจะมีอาการเวลาท้องผูก หรือท้องเดินบ่อยๆ

การรักษา

1. ระวังอย่าให้ท้องผูกควรดื่มน้ำมากๆ และกินผักผลไม้มากๆ ถ้ายังท้องผูก ให้กินยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซีย ดีเกลือ อีแอลพี หรือสารเพิ่มกากใย อย่ายืนนานๆ หือนั่งเบ่งถ่ายนานๆ

2. ถ้าปวดมากเนื่องจากมีการอักเสบ ให้กินยาแก้ปวด นั่งแช่ในน้ำอุ่นจัดๆ วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที และใช้ยาเหน็บริดสีดวงทวาร เช่น อะนูซอล เซอริพร็อกต์ พร็อกโตซีดิล เหน็บวันละ 2-3 ครั้ง เช้า ก่อนนอน และหลังถ่ายอุจจาระ จนอาการบรรเทา ปกตใช้เวลาประมาณ 10 วัน

3. ถ้าซีดให้ เฟอร์รัสซัลเฟต วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด

4. ถ้าหัวริดสีดวงหลุดออกมาข้างนอก ให้ใสถุงมือใช้ปลายนิ้วชุบสบู่ให้หล่อลื่น แล้วดันหัวกลับเข้าไป ถ้าไม่ด้ผล ควรแนะนำไปโรงพยาบาล

5. ถ้ามีเลือดออกนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือเป็นๆ หายๆ บ่อย หรือสงสัยมีโรคอื่นร่วมด้วย หรือพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องใช้กล้องส่องตรวจไส้ตรง ถ้าหากสงสัยเป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่ อาจต้องเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยการสวนแป้งแบเรียม อาจต้องเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยการสวนแป้งแบเรียม หรือใช้กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่

ถ้าเป็นริดสีดวงทวาร โดยไม่มีสาเหตุที่ร้ายแรงก็มักจะให้การรักษาดังได้กล่าวข้างต้น

ถ้า เป็นมากอาจรักษาด้วยการฉีดยาเข้าที่หัวริดสีดวงให้ฝ่อไป วิธีนี้สะดวก ปลอดภัย ไม่มีความเจ็บปวด มักจะฉีดสัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 3-5 ครั้ง ช่วยให้หายขาดได้รร้อยละ 60 ส่วนอีกร้อยละ 40 อาจกำเริบได้ใหม่ หรืออาจรักษาโดยวิธีใช้ยางรัด ทำให้หัวริดสีดวงฝ่อ หรือใช้แสงเลเซอร์รักษา

กรณีเป็นมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องผ่าตัด

เหตุหมาย ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

บทความแพทย์และพยาบาล
เว็บบอร์ดพยาบาล


สำหรับผูั้ที่มีปัญหาเรื่องริดสีดวงทวาร


 โทร0899371691  0819541900

ไม่มีความคิดเห็น: