วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพร : ปัญจขันธ์



สมุนไพร : ปัญจขันธ์


ปัญจขันธ์

ปัญจขันธ์ หรือชื่อจีนว่า เจียวกู่หลาน เซียนเฉ่า (สมุนไพรอมตะ) หรือชื่อที่ญี่ปุ่นว่า อะมาซาซูรู ส่วนชื่อภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น Miracle (หญ้ามหัศจรรย์) Southern Ginseng(โสมภาคใต้) 5-Leaf Ginseng (โสมห้าใบ) เป็นต้น

สมุนไพรชนิดนี้มีประโยชน์ทั้งเป็นยาและเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ มีประวัติการใช้มายาวนาน มีสารที่สำคัญชื่อ gypenosides เป็นสารประเภทไตรเทอร์ปีนซาโปนิน (triterpene saponins) ซึ่งมีสูตรที่คล้ายคลึงกับ ginsenosides ที่พบในโสม

ซาโปนินที่พบในปัญจขันธ์มีจำนวน 82 ชนิด แต่ซาโปนินที่พบในโสมมี 28 ชนิด ในจำนวนนี้มี 4 ชนิด ที่เหมือนกัน นอกจากนั้นยังมี gypenosides อีก 11 ชนิด ซึ่งมีสูตรโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับ ginsenosides การศึกษาวิจัยปัญจขันธ์

ข้าวมูลการวิจัยของนักวิจัยชาวจีนและญี่ปุ่น พบว่า ปัญจขันธ์มีสาระสำคัญอยู่หลายชนิด โดยทั่วไปคือ gypenosides เป็นสารจำพวก saponins มีไม่น้อยกว่า 80 ชนิด ผลการศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่า ปัญจขันธ์ มีสารที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้นอนหลับ เสริมภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด ต้านการอักเสบ และลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับไขมันในเลือด ลดคลอเรสเตอรอล เจียวกู่หลาน ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอลชนิด LDL กรดไขมันที่เสีย ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ จึงเท่ากับ ลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลให้กรดไขมัน ชนิด HDL กรดไขมันดี ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ดี และลดกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นเกิดจากการแปรสภาพของกรดไขมันเสีย

วิจัยเกี่ยวกับปัญจขันธ์
โดย ดร. จักรพงษ์ ลิมปนุสสรณ์
การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้สามารถสกัดและแยกสารเคมีบริสุทธิ์ที่มีสารที่สำคัญ จำแนกได้ดังนี้
  • ไกลโคไซด์ (glycoside)
    เป็นสารประกอบที่พบมากในพืชสมุนไพร มีโครงสร้างแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นน้ำตาลกับส่วนที่ไม่ได้เป็นน้ำตาล ที่เรียกว่า อะไกลโคน (aglycone) หรือ เจนิน (genin) ส่วนที่ไม่ใช่น้ำตาลมีโครงสร้างแตกต่างกันไปหลายประเภท ดังนั้นฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารประกอบในกลุ่มนี้จึงมีได้กว้างขวางแตกต่าง กันออกไป ส่วนที่เป็นน้ำตาลไม่มีฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยาแต่เป็นส่วนช่วยทำ ให้การละลายและการดูดซึมเข้าสู่ ร่างกายดีขึ้น ช่วย ระบบกล้ามเนื้อหัวใจ และระบบการ ไหลเวียนของโลหิต ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • กลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids Glycoside)
    สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ต่อต้านการจับตัวกันเป็นก้อนของ เกร็ดเลือด ป้องกันการเกิดภาวะอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
  • ไตรเทอร์ปีน แลคโตน (Triterpene Lactone)
    สารกลุ่มที่พบว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของโลหิตได้รวดเร็วขึ้น

โดย นพ.สมทรง รักษ์เผ่า
นพ.สมทรง รักษ์เผ่า อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดปัญจขันธ์หรือ เจียวกู่หลาน เป็นพืชล้มลุกชนิดเถา พบมากในประเทศญี่ปุ่น จีน พบว่า ตัวยาที่สกัดได้แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เอชไอวีโพรทีเอส ทำให้เชื้อไวรัสเอชไอวีไม่เพิ่มจำนวน มีฤทธิ์เสริมภูมิต้านทานในหลอดทดลอง เมื่อทดสอบกับสัตว์ทดลอง ไม่พบพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง นอกจากนั้น เมื่อทดสอบในอาสาสมัครให้รับประทานสารสกัดในแคปซูล พบว่า มีความปลอดภัย ทางสถาบันวิจัยสมุนไพรเตรียมขยายผลนำสมุนไพรมาพัฒนาเป็นยาทดแทนการใช้ยาแผน ปัจจุบัน ทั้งนี้ในญี่ปุ่นและจีนใช้ปัญจขันธ์เป็นยาต้านการอักเสบ แก้ปวด แก้ไอขับเสมหะ ลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเติบโตของเนื้องอก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด

โดยกรมวิชาการเกษตร
ในปี 2543 กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำการวิจัยพบสารต้านอนุมูลอิสระ ถึง 3 ชนิด คือ
1.  เควอซิติน ( Quercetin )
2.  เคมเฟอรอล ( Kaempferol ) เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยส์ ( Flavonoids ) มีคุณสมบัติ
ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง
ยับยั้งการก่อสารมะเร็งเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่
ลดอาการแพ้ ยืดอายุเม็ดเลือดขาว
3.  โพลีฟีนอล ( Polyphenols ) มีฤทธิ์ป้องกันอนุมูลอิสระ ลดความเครียด เนื่องมากจากความไม่สมดุลของร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอกเลือดหัวใจ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร

เอกสารอ้างอิง :
หนังสือสมุนไพรน่ารู้(2) ปัญจขันธ์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ไม่มีความคิดเห็น: