วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้กับสมุนไพรใกล้ตัว ผงกล้วยดิบ

                    ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum L.
วงศ์ Musaceae
ชื่อพ้อง M. paradisiaca L. var sapientum (L.) O. Kuntze
ชื่ออื่นๆ กล้วยไข่ กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยน้ำว้า กล้วยมณีออง กล้วยเล็บมือ กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยหอมจันทร์ กล้วยหักมุก เจก มะลิอ่อง ยะไข่ สะกุย แหลก Banana, Cultivated banana
สารออกฤทธิ์ leucocyanidin (1), sitoindoside I, sitoindoside II, sitoindoside III, sitoindoside IV, sitoindoside V (2-5)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแก้โรคแผลในกระเพาะอาหาร
การศึกษาฤทธิ์เกี่ยวกับการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเป็นการศึกษาของกล้วย M. paradisiaca ซึ่งเป็นกล้วยป่า พบว่า สารสกัดผลซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็ง ป้อนทางสายยางสู่กระเพาะอาหารหนูขาวเพศเมีย ขนาด 0.5 ./กก.นน.ตัว พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สารสกัดน้ำและน้ำด่าง (alkali-water) จากผล ฉีดเข้าช่องท้องหนูขาวเพศผู้ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย aspirin ขนาดที่ใช้ คือ 5 ./วัน พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้สารสกัดเอทานอลกับน้ำ (1:1) จากผลแห้ง ขนาด 22.5 มก./กก. เมื่อให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารและฉีดเข้าช่องท้องของหนู ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะด้วย aspirin พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (6) ส่วนสกัดที่แยกได้จากโครมาโตกราฟฟีของสารสกัดผล ขนาด 30 มก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนู พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร อีกการทดลองหนึ่งระบุว่า เมื่อป้อนสารสกัดเมทานอลจากผล ไม่ระบุขนาดที่ให้ ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนู สามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (7) และสารสกัดเนื้อผลซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็ง ขนาด 0.5 ./กก. ฉีดเข้าทางกระเพาะของหนูเพศเมียซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะด้วย indomethacin และ acetic acid พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (8)
เนื้อผล ขนาด 0.65 ./ตัว ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะหนูเพศผู้ โดยทดสอบก่อนและหลังที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอล พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (6) และเนื้อผล ขนาด 0.65 ./ตัว ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะหนูเพศผู้ โดยเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย indomethacin พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (9)
แป้งจากส่วนผลให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนู ขนาด 0.5 ./กก. พบว่าทำให้ความต้านทานของผนังกระเพาะเพิ่มมากขึ้น และแป้งจากส่วนผล ขนาด 100 มก./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหนูเพศผู้ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย hypothermic-restraint, indomethacin และ ethanol พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (10) นอกจากนี้แป้งจากผลขนาด 0.5 ./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนูตะเภา ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย histamine พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (11) อีกการทดลองหนึ่งพบว่า แป้งจากผล ขนาด 0.5 ./กก. ให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารของหนู ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย aspirin, phenylbutazone, cysteamin, และ shay พบว่าสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (11, 12) สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนู คือ sitoindoside I, II, III, IV และ V (2, 3) ซึ่งสาร sitoindoside IV เป็นสารที่ออกฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารดีที่สุด (3-5) นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยพบว่า สาร leucocyanidins ซึ่งเป็นสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารออกฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนูขาวที่ถูกทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารด้วยแอสไพริน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับโรคอุจจาระร่วง
              1. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้เล็กน้อย สารสกัดจากลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ และแบคทีเรียที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะกรดได้ สารสกัดจากผลและเปลือกผลสุกสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Escherichia coli, Staphylococcus, Serratia marcescens, Mycobacterium phlei, Bacillus subtilis, Sarcina lutea, Rhodococcus roseus และ Xanthomonas translucens (2) 
2. ฤทธิ์รักษาอาการอุจจาระร่วง 
 อาสาสมัครจำนวน 31 คน รับประทานเนื้อผล ขนาด 40 กรัมต่อคน สามารถลดอาการท้องร่วงที่เกิดจากเชื้อ Clostridium difficile ได้ (3)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับรักษาโรคเชื้อราในปาก
ฤทธิ์ต้านเชื้อรา
สารสกัดน้ำ เมทิลินคลอไรด์ และปิโตรเลียมอีเทอร์จากราก ทดสอบในจานเพาะเชื้อ พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans ส่วนสารสกัดเมทานอลไม่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว (1) สารสกัด 70% เอทานอลจากลำต้น ขนาด 150 มก./มล ทดสอบในจานเพาะเชื้อ ไม่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ C. albicans (2)
หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอลและน้ำ (1:1) จากเปลือกผลแห้ง เข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 1 ./กก. (4)
เมื่อป้อนน้ำคั้นจากลำต้น ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารในหนู ขนาด 2 ซีซี/ตัว มีผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ และภายใน 1-7 วัน ระดับแคลเซียม ฟอสฟอรัส ออกซาเลท และกรด glycolic ในเลือดลดลง (5)

ไม่มีความคิดเห็น: